การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ภาคีเพื่อโปรแกรมอนามัยการเจริญพันธุ์ สำหรับเยาวชนในจังหวัดนครราชสีมา

Authors

  • ศิริพร ปัญญาพฤทธิ์พงศ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
  • บุญช่วย นาสูงเนิน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

Keywords:

การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์, เยาวชน, อนามัยเจริญพันธุ์, จังหวัดนครราชสีมา, strategic approach, youth, reproductive health, Nakhon Ratchasima Province

Abstract

บทคัดย่อ

ศึกษาการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ภาคีด้านอนามัย การเจริญพันธุ์สำหรับเยาวชนในจังหวัดนครราชสีมา และผลการเปลี่ยนแปลงในรอบ 3 ปี (พ.ศ. 2553-2555) โดยใช้การสนทนากลุ่มผู้นำเยาวชน 60 ราย จนได้ ความต้องการประเด็นยุทธศาสตร์ คือ 1) ข้อมูลการ รับบริการ ค่าใช้จ่าย และบุคลากรที่ให้บริการ 2) การ ตั้งครรภ์ การคลอด และเพศศึกษา 3) คำปรึกษา ด้านเพศสัมพันธ์และเรื่องเกี่ยวข้องกับเพศ และวิธี บอกความผิดพลาดเรื่องเพศกับบิดา มารดา 4) การ ทดสอบ คัดกรองก่อนแต่งงาน การป้องกันด้านอนามัย การเจริญพันธุ์และการตรวจร่างกายทั่วไป นำประเด็นยุทธศาสตร์มาขับเคลื่อนโดยสนทนากลุ่มผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียจากสถานศึกษาและโรงพยาบาล พบว่า มีความต้องการทีมดำเนินการและหลักสูตร การมี ส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และความครอบคลุม ของตัวชี้วัดทั้ง 6 ด้าน คือ องค์ความรู้ด้านอนามัย การเจริญพันธุ์ การให้คำปรึกษา การคัดกรองโรค ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การได้รับการรักษาโรคติดต่อ การได้รับคำปรึกษาเพื่อทดสอบหาการติดเชื้อเอชไอวี และการได้รับยาป้องกันไวรัสเอดส์ ผลการดำเนินงาน พบอัตราการเข้าถึงข้อมูลด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ เพิ่มขึ้น 10 เท่า การให้คำปรึกษา บริการตรวจคัดกรอง และรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้น 2 เท่า การสมัครใจรับคำปรึกษาเพื่อตรวจคัดกรองหาเชื้อ ไวรัสเอดส์เพิ่มขึ้น 20 เท่า เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ ขององค์ประกอบของการทำงานกับการเข้าถึงบริการ ของเยาวชน พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมี นัยสำคัญ (p < 0.001) คือ ทีมถ่ายทอดความรู้และ บริการ หลักสูตรที่ประกอบด้วยการมีส่วนร่วมของ ผู้ที่เกี่ยวข้อง และการส่งต่อบริการ การขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ฯ เป็นกระบวนการกระตุ้นผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียและเยาวชนให้ระวังและเข้าถึงบริการอย่าง มีประโยชน์

คำสำคัญ: การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์; เยาวชน; อนามัยเจริญพันธุ์; จังหวัดนครราชสีมา

 

ABSTRACT

Study the strategic approach and network of reproductive health (RH) for youth in Nakhon Ratchasima Province and follow up for three years (2010-2012). The focus group, 60 youth leaders, was discussed and identified the RH needs which are 4 dimensions including 1) price to get service, team delivery service 2) pregnancy delivery and sex education 3) counseling on RH, issues related to sex and technique to tell the sex problem to parents 4) screening test of premarital counseling, prevention and general physical examination. The selected statements of RH were validated and scrutinized by stakeholders from education institutes and hospital representatives via focus group. The strategy of RH was designed to cover delivery service and curriculum, participation from stakeholders, and six key performance indicators; knowledge of RH, counseling, screening for STI, treatment of STI and screening of voluntary counseling test (VCT) and receiving antiretroviral drug (ARV). The implementation revealed dramatically increasing of the accessibility of knowledge of RH 10 times; receiving screening and treatment of STI 2 times; and voluntary counseling test (VCT) 20 times. The elements associated with the accessibility to health services of the youth at p < 0.001 are team delivery service and curriculum, curriculum encourage participative use by team and stakeholder and referral system. This strategic network of RH is strengthening the stakeholders and youth to take precaution and access RH service fruitfully.

Key words: strategic approach, youth, reproductive health, Nakhon Ratchasima Province

Downloads

Issue

Section

Original Articles