ผลของโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการต่อการปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารและกิจกรรมทางกาย เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในหญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน

Authors

  • นฤมล เวชจักรเวร โปรแกรมวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • วราภรณ์ เสถียรนพเก้า ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ภารดี เต็มเจริญ ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วงเดือน ปั้นดี ภาควิชาปรสิตวิทยาและกีฏวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

อาหาร, กิจกรรมทางกาย, ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด, หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน, food, physical activity, cardiovascular disease risk, pre-menopausal women

Abstract

บทคัดย่อ

การบริโภคอาหารและการมีกิจกรรมทางกายที่ เหมาะสม สามารถป้องกันความเสี่ยงทางสรีรวิทยา ต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในหญิงวัย หมดประจำเดือน การวิจัยกึ่งทดลองนี้ศึกษาผลของ โปรแกรมส่งเสริมโภชนาการต่อการปรับเปลี่ยน การบริโภคอาหารและกิจกรรมทางกายเพื่อป้องกัน ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในหญิงวัย ก่อนหมดประจำเดือน อายุ 30-45 ปี จำนวน 70 คน สุ่มเป็นกลุ่มทดลอง 33 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 37 คน ระยะเวลาศึกษา 12 สัปดาห์ ประกอบด้วย ระยะทดลอง 8 สัปดาห์และติดตามผล 4 สัปดาห์ หลังการทดลอง เก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง และระยะติดตามผลโดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วย ตนเอง แบบบันทึกอาหารบริโภค 3 วัน แบบบันทึก กิจกรรมทางกาย และแบบบันทึกสัดส่วนร่างกาย สถิติวิเคราะห์โดย Two Way Repeated Measures ANOVA ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองและระยะ ติดตามผล กลุ่มทดลองบริโภคผัก ผลไม้ ใยอาหาร โปรตีนถั่วเหลืองและไอโซฟลาวอน และออกกำลังกาย เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบ เทียบ (p<0.05) และกลุ่มทดลองบริโภคไขมัน คอเลสเตอรอล และน้ำตาลลดลงกว่าก่อนการทดลอง และต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p<0.05) ค่าเฉลี่ยดัชนี มวลกายและเส้นรอบวงเอวของกลุ่มทดลองหลังการ ทดลองและระยะติดตามผลลดลง (p<0.05) เมื่อ เปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง สรุป การปรับเปลี่ยน บริโภคนิสัยและเพิ่มการออกกำลังกายช่วยหญิง วัยก่อนหมดประจำเดือนให้มีขนาดร่างกายเหมาะสม เพิ่มขึ้น อาจนำไปสู่การป้องกันความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือด

คำสำคัญ: อาหาร; กิจกรรมทางกาย; ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด; หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน

 

ABSTRACT

Appropriate food consumption and physical activity can prevent the physiological risk of cardiovascular disease (CVD) in postmenopausal women. The purpose of this quasi-experimental study was to investigate the effect of nutrition promotion program on changes in food consumption and physical activity for CVD risk prevention in 70 pre-menopausal women aged 30-45 years. Participants were randomly assigned to an experiment group (n = 33) or a comparison group (n = 37). A 12-week study period included an 8-week experiment and a 4-week follow-up period. Data were collected by using self-administered questionnaires, 3-day food record form, physical activity record form, and anthropometric record form at the baseline, at the end of experiment and follow up. Statistical analysis was conducted by using two way repeated measures ANOVA. Results illustrated that after the experiment and follow up, the experiment group consumed vegetable, fruit, fi ber, soy protein and isofl avone and exercised more than those at the baseline and of the comparison group (p < 0.05). Additionally, the experiment group ate fat, cholesterol, and sugar lower than those at the baseline and of the comparison group (p < 0.05). The experiment group’s body mass index and waist circumference after experiment and at follow-up were lower (p < 0.05), compared with those at the baseline. In conclusion, the eating behavior modifi cation and increase in exercise help pre-menopausal women achieve more suitable body composition probably leading to CVD risk prevention.

Key words: food; physical activity; cardiovascular disease risk; pre-menopausal women

Downloads

Issue

Section

Original Articles