ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยตามลำพัง

Authors

  • เสน่ห์ แสงเงิน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
  • ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
  • ถาวร มาต้น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
  • ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

Keywords:

พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพตนเอง, ผู้สูงอายุ, อยู่ตามลำพัง, individual health promoting behaviors, older people, living alone

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนาย พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ที่อยู่อาศัยตามลำพัง กลุ่มตัวอย่าง 258 คน ได้จาก การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลระหว่าง 1 ตุลาคม - 30 พฤศจิกายน 2554 โดยใช้แบบ สัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการ ศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีสภาวะสุขภาพในระดับดี (ร้อยละ 56.6) มีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ตนเองในระดับดี (ร้อยละ 78.3) และพบว่าอาชีพ รายได้ โรคประจำตัว การมองเห็น สภาวะสุขภาพ การรับรู้ประโยชน์การสร้างเสริมสุขภาพ การสนับสนุน จากบุคคลในครอบครัว จากบุคคลภายนอกครอบครัว จากบุคลากรด้านสุขภาพ และการจัดสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การสร้างเสริมสุขภาพตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 และการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างเสริม สุขภาพ สภาวะสุขภาพ การสนับสนุนจากบุคคล ภายนอกครอบครัว จากบุคลากรด้านสุขภาพ การรับรู้ ประโยชน์การสร้างเสริมสุขภาพ เป็นตัวแปรที่ร่วม ทำนายพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพตนเองได้ ร้อยละ 35.8 ผลการศึกษาเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เน้นการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ จัดระบบ สนับสนุนและสร้างการรับรู้ประโยชน์การสร้างเสริม สุขภาพเพื่อให้ผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยตามลำพังมีพฤติกรรม การสร้างเสริมสุขภาพตนเองในระดับที่ดียิ่งขึ้น

คำสำคัญ: พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพตนเอง; ผู้สูงอายุ; อยู่ตามลำพัง

 

ABSTRACT

This research was a descriptive prediction aimed to study factors predicting individual health promoting behaviors in older people living alone. Two hundred fi ftyeight people were selected to participate and were determined by using multistage random sampling. Data was collected from October 1 to November 30, 2011. Interviews/questionnaires were used as tools for data collection and then analyzed by percentage, mean, standard deviation, chi-square, Pearson’s product moment correlation coeffi cient and stepwise multiple regression analysis. The results showed that the sample groups had good health status (56.6%) and good individual health promoting behaviors (78.3%). The correlation analysis showed that career, income, disease identifi cation, eye visibility, health status, perceived benefi ts of health promoting, health promoting support by family members, health promoting support by outside persons and health promoting support by health personnel created a supportive environment for health promoting signifi cantly associated with individual health promoting behaviors at 0.05. Results from stepwise multiple regression analysis revealed that the establishment of a supportive environment for health promoting, health status, health promoting support by outside persons, health promoting support by health personnel and perceived benefi t of health promotion signifi - cantly explained individual health promoting behaviors by 35.8%. The research results suggest that emphasis should be placed on creating supportive environments for health promoting, support systems by outside persons, health personnel and awareness of health promotion to provide older people living alonewith the means to take of their general health and wellbeing.

Key words: individual health promoting behaviors; older people; living alone

Downloads

Issue

Section

Original Articles