ปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานด้านจิตสังคมที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิต และความพึงพอใจในงานของพนักงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าขนาดใหญ่

Authors

  • อาภรณ์ทิพย์ บัวเพ็ชร์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
  • สุรินธร กลัมพากร ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุนีย์ ละกำปั่น ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ปัญหาสุขภาพจิต, ความพึงพอใจในงาน, แนวคิดการทุ่มเทในการทำงานและการตอบแทนไม่สมดุล, psychological health problems, job satisfaction, the ERI model

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงานด้านจิตสังคมที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตและความ พึงพอใจในงาน โดยใช้กรอบแนวคิดการทุ่มเทในการ ทำงานและการตอบแทนไม่สมดุล กลุ่มตัวอย่างเป็น พนักงานที่ทำงานเต็มเวลา โดยสุ่มตัวอย่างจำนวน 417 คน จากโรงงานอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า ขนาดใหญ่ 3 แห่ง ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และสมุทรสาคร เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเครียดทางจิตใจจนเกิดอาการ เจ็บป่วยทางกาย ภาวะวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า อยู่ในระดับเสี่ยงและระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 24.9, 23.7, และ 18.2 ตามลำดับ และมีความพึงพอใจ ในงานในระดับต่ำคิดเป็นร้อยละ 39.0 ผลการวิเคราะห์ การถดถอยแบบพหุพบว่า ผลตอบแทนจากงานเป็น ปัจจัยสำคัญที่สามารถอธิบายความแปรปรวนของ การเกิดปัญหาสุขภาพจิตทั้งหมด และความพึงพอใจ ในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ปัจจัยด้าน จิตสังคมในการทำงานทุกตัวแปร (การทุ่มเทในการ ทำงาน ผลตอบแทนจากงาน และความมุ่งมั่นที่มาก เกินไปต่องานที่รับผิดชอบ) สามารถร่วมกันอธิบาย ความแปรปรวนของการเกิดภาวะวิตกกังวลอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะคือบุคลากรที่ร่วม รับผิดชอบดูแลสุขภาพของพนักงานควรตระหนักและ คำนึงถึงการจัดให้พนักงานได้รับผลตอบแทนจากการ ทำงานในรูปแบบต่างๆ โดยดำเนินการควบคู่ไปกับ การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมด้านอื่นๆ

คำสำคัญ: ปัญหาสุขภาพจิต; ความพึงพอใจในงาน; แนวคิดการทุ่มเทในการทำงานและการตอบแทนไม่สมดุล

 

ABSTRACT

This study aimed to examine the relation­ship between the psychosocial work environ­ment with psychological health problems and job satisfaction among Thai garment workers, using the Effort-Reward Imbalance model. A cross-sectional survey was conducted with 417 paid employees working in three large-sized garment factories in Bangkok, Samutprakan, and Samutsakorn provinces. Data were collected through a self-administered questionnaire. Results revealed that subjects had high scores on psychosomatic symptoms, anxiety, and depression. They were 24.9%, 23.7%, and 18.2%, respectively; whereas scores on job satisfaction were mainly at a low level (39.0%). Multiple regression analysis showed that reward plays a vital role which could explain statistically significant variance in all psychological health problems and job satisfaction. Reward, effort, and over commit­ment combined, could explain statistically significant variance in anxiety. Results sug­gested that reward should be more concerned and promoted in various ways in the work­place with the others work environment improvement.

Key words: psychological health problems; job satisfaction; the ERI model

Downloads

Issue

Section

Original Articles