ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนไทย ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Authors

  • วัชราภรณ์ บัตรเจริญ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปาหนัน พิชยภิญโญ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อาภาพร เผ่าวัฒนา ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

วัยรุ่นตอนต้น, การรับรู้ความสามารถ ของตนเอง, การควบคุมกำกับติดตาม, การสื่อสารเรื่องเพศ, พฤติกรรมเสี่ยง ทางเพศ, early adolescence, self-efficacy, monitoring, sexual communica­tion, sexual risk behavior,

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในวัยรุ่นตอนต้นโดยใช้กรอบ แนวคิดจากแบบจำลองการวางแผนเพื่อสุขภาพ (PRECEDE-PROCEED Model) กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในอำเภอเมือง จังหวัด ลพบุรี จำนวน 150 คน เลือกสุ่มแบบ cluster sampling ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สันและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการ วิจัยพบว่าพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศมีความสัมพันธ์ ทางลบกับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและการควบคุมกำกับติดตามของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ในขณะที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับช่องทางการเข้าถึงสื่อและ ความสะดวกในการเข้าถึงสื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ เช่น รายการโทรทัศน์และการใช้อินเตอร์เน็ต (p < 0.001) อย่างไรก็ตามไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการ สื่อสารเรื่องพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในครอบครัวกับ การมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ (p = 0.38) และการ รับรู้ความสามารถในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ทางเพศ ช่องทางการเข้าถึงสื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ การอาศัยอยู่กับบิดาและมารดาและอายุเป็นปัจจัย ทำนายพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ (p < 0.001, 0.001, 0.006 และ 0.008 ตามลำดับ) โดยสามารถร่วมกัน ทำนายพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนได้ร้อยละ 39.5 ดังนั้นควรมีการพัฒนาโปรแกรมการรับรู้ความ สามารถในการหลีกเลี่ยงการเข้าถึงสื่อกระตุ้นอารมณ์ ทางเพศสำหรับนักเรียน รวมถึงควรพัฒนาทักษะ สื่อสารเรื่องพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศให้กับผู้ปกครอง

คำสำคัญ: วัยรุ่นตอนต้น; การรับรู้ความสามารถ ของตนเอง; การควบคุมกำกับติดตาม; การสื่อสารเรื่องเพศ; พฤติกรรมเสี่ยง ทางเพศ

 

ABSTRACT

The purpose of this cross-sectional study was to determine factors related to sexual risk behaviors among early adolescents based on PRECEDE-PROCEED Model. Subjects were 150 secondary school students in the Muang District of Lobburi province, selected by means of cluster sampling. Data were collected by using the self-administered questionnaire and analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation, and Stepwise Multiple Regression Analysis. The findings revealed that perceived self-efficacy to avoid sexual risk behaviors and parental monitoring was negatively related to sexual risk behavior, whereas channel and convenience to access sexual media including television shows and internet access were positively related to sexual risk behavior (p < 0.001). However, communication regarding sexual risk behavior in family was not associated with sexual risk behavior (p = 0.38). Perceived self-efficacy to avoid sexual risk behaviors, channel to access sexual media, living with parents, and age were significant predictors and approximately accounted for 39.5% of the total variance of sexual risk behavior. Therefore, interventions regarding self-efficacy improve­ment in avoiding access to sexual motivated media among students, and in communication skills including sexual risk behavior among parents should be developed.

Key words: early adolescence, self-efficacy; monitoring; sexual communica­tion, sexual risk behavior

Downloads

Issue

Section

Original Articles