คุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ ตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

Authors

  • ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • บุญเรือง ขาวนวล คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • พลภัทร ทรงศิริ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ

Keywords:

คุณภาพชีวิต, ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน, ผู้สูงอายุ, quality of life, daily activity ability, elderly people

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบล แหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จำนวน 190 คน สุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบ จากฐานข้อมูล ผู้สูงอายุในระดับตำบล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ สัมภาษณ์ระหว่างเดือนมกราคม - มีนาคม พ.ศ. 2554 แบบสัมภาษณ์ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป สภาวะ สุขภาพของผู้สูงอายุ ความสามารถในการทำกิจวัตร ประจำวัน และคุณภาพชีวิต มีค่าสัมประสิทธิ์ ครอนบาคแอลฟ่า (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.79 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุ ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง (40.8%) และมีอาการ ปวดหลังส่วนล่าง (39.7%) ในส่วนของความสามารถ ในการทำกิจวัตรประจำวันพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ สามารถช่วยเหลือตนเองได้ตามปกติ (99.5%) ในส่วน ของคุณภาพชีวิตพบว่า ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิต โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (58.4%) และเมื่อ พิจารณารายด้านพบว่า ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ สุขภาพกาย (72.1%) จิตใจ (56.8%) สัมพันธภาพทางสังคม (59.5%) และ สิ่งแวดล้อม (65.3%) และพบว่าไม่มีปัจจัยใดมีความ สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จากผลการศึกษา ควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมการดู แลสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะการออกกำลังกายและควรส่งเสริมให้ มีกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทั้ง 4 องค์ประกอบ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพ ตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

คำสำคัญ: คุณภาพชีวิต; ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน; ผู้สูงอายุ

 

ABSTRACT

The purpose of this descriptive study was to investigate the quality of life and daily activity ability among elderly people and to investigate factors associated to the quality of life among elderly people in Laem Tanot sub-district, Khuan Khanun District, Phatthalung Province. In total, 190 elderly people were systematically and randomly selected from a sub-districts’ elderly registry database. The data were gathered by conducting interviews between January and March 2011. Question­naires consisted of demographic factors, health status, daily activity ability and quality of life. The cronbach’s alpha coefficient was 0.79. The data were analyzed by descriptive statistics and analytical statistics. The results found that elderly people had the following illnesses; hypertension (40.8%) and lower back pain (39.7%). The daily activity ability showed that elderly people had normal daily activity ability at 99.5%. In addition, the overall quality of life among elderly people was rated at a moderate level of 58.4%. Furthermore, physical (72.1%), psychological (56.8%), social relationships (59.5%), and environmental (65.3%) domains were also rated at moderate levels. The study found no association between factors and quality of life among elderly people. The result suggested that health promoting activities should be implemented in elderly people, in particular exercise activities. In addition, quality of life activities should be developed to encourage all four domains in order to promote self care ability and increase quality of life among elderly people.

Key words: quality of life; daily activity ability; elderly people

Downloads

Issue

Section

Original Articles