ภาวะโภชนาการของนักเรียนในโรงเรียน เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
Keywords:
ภาวะโภชนาการ, น้ำหนักตามเกณฑ์ ส่วนสูง, ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ, นักเรียน, nutritional status, weight for height, height for age, studentAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยการสำรวจข้อมูลย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ภาวะโภชนาการของนักเรียนในโรงเรียน เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551-2553 ประชากรที่ศึกษา คือ นักเรียนในโรงเรียนพื้นที่เขต ทวีวัฒนา 8 โรงเรียนที่ได้รับการตรวจสุขภาพในปี การศึกษา 2551-2553 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูลเป็นแบบบันทึกข้อมูลการตรวจสุขภาพ ของเด็กนักเรียน นำข้อมูลน้ำหนัก และส่วนสูงที่ได้ มาประเมินภาวะโภชนาการ โดยใช้ น้ำหนักเทียบเกณฑ์ อ้างอิงการเจริญเติบโตของเพศชาย-หญิง (น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง) และส่วนสูงเทียบเกณฑ์อ้างอิง การเจริญเติบโตของเพศชาย-หญิง (ส่วนสูงตาม เกณฑ์อายุ) ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2543 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไค-สแควร์ ผลการศึกษาพบว่า เด็กนักเรียน ในโรงเรียนพื้นที่เขตทวีวัฒนา ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2551-2553 ส่วนใหญ่น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ สมส่วน แต่มีภาวะ โภชนาการเกิน (เริ่มอ้วน และอ้วน) เพิ่มขึ้นทุกปี และ ภาวะโภชนาการขาด (ผอม) เพิ่มขึ้นทุกปีเช่นเดียวกัน และพบนักเรียนที่เตี้ย มีความสูงน้อยกว่าเกณฑ์ลดลง ในระดับชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษา แต่เพิ่มขึ้น ในระดับชั้นอนุบาล นอกจากนี้ยังพบว่าการประเมิน ภาวะโภชนาการจากส่วนสูงตามเกณฑ์อายุระหว่าง เพศชาย-หญิง ไม่มีความแตกต่างกัน แต่การประเมิน ภาวะโภชนาการจากน้ำหนักตามเกณฑ์ ส่วนสูงระหว่าง เพศชาย-หญิง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p < 0.01) จากผลการศึกษาครั้งนี้ ชี้ให้ เห็นว่าภาวะโภชนาการเกิน และภาวะโภชนาการขาด (ผอม) ยังเป็นปัญหาสำคัญในเด็กวัยเรียน ดังนั้นควร เน้นการส่งเสริมสุขภาพโดยให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน ด้านโภชนาการ และการรับประทานอาหาร ส่งเสริม การออกกำลังกาย รวมถึงจัดกิจกรรมการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมในแต่ละกลุ่มทั้งเด็กที่มีน้ำหนักมากกว่า เกณฑ์ และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ทั้งที่โรงเรียน และที่บ้านโดยให้ครอบครัวมีส่วนร่วม ควรติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยงในการ เกิดภาระโรคในอนาคตได้
คำสำคัญ: ภาวะโภชนาการ; น้ำหนักตามเกณฑ์ ส่วนสูง; ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ; นักเรียน
ABSTRACT
This study was a retrospective survey study. The purpose of this study was to investigate the nutritional status of students in Taweewattana district, Bangkok from 2008 to 2010. The study population included students from eight schools in Taweewattana district, Bangkok who were checked up from 2008 to 2010. The research tools were check up records of the students. The nutritional status was assessed by measuring weight and height and was classified by using graph of the standard growth divided sex and age range (weight for height, height for age). The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and Chi-Square test. Results showed that the nutritional status regarding weight in most of the students were normal in kindergarten, primary school, and secondary school levels. However, the number of over-nutrition (overweight and obesity) and under-nutrition students increased in each Academic year from 2008 to 2010. The stunting students decreased in primary and secondary levels but increased in kindergarten level. There were no significant correlations between sex and nutritional status when evaluated by height for age, but significant correlations if evaluated by weight for height (p < 0.01). Therefore, over-nutrition and under-nutrition are considered the most important problems in students. This study suggests that the health stakeholders should set up activities focusing on health education regarding nutrition, eating and exercise to promote healthy behaviors. With special focus on students in obesity and under-nutrition both at school and home, activities should promote the families participation and evaluate on a continuous basis. This may lead to a reduced risk of burden disease.
Key words: nutritional status; weight for height; height for age; student
Downloads
Issue
Section
License
Creative Commons License CC-BY-ND