พฤติกรรมการบริโภคและความพึงพอใจในการใช้โรงอาหาร: กรณีศึกษาโรงอาหารคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Authors

  • ปิยะธิดา ขจรชัยกุล ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุภัทร์ ไชยกุล ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

พฤติกรรมการบริโภค, ความพึงพอใจ, โรงอาหาร, โภชนาการ, Consumption behavior, Satisfaction, Canteen, Nutrition

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคและความพึงพอใจในการใช้บริการโรงอาหารของผู้รับบริการในโรงอาหารของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประชากรที่ศึกษาคือ นักศึกษาบุคคลภายในคณะสาธารณสุขศาสตร์ และบุคคลทั่วไป จำนวน 419 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้และโภชนาการ ความพึงพอใจในการใช้โรงอาหาร และพฤติกรรมในการบริโภค วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและพิสูจน์ความสัมพันธ์ โดยใช้ Pearson Correlationและ Pearson Chi-square test ผลการวิจัยพบว่า อายุมีความสัมพันธ์กับความรู้และโภชนาการ และความพึงพอใจในด้านสถานที่ประกอบการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001 และ p = 0.001 ตามลำดับ) และประเภทผู้ใช้บริการที่เป็นบุคคลภายในคณะสาธารณสุขศาสตร์มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจด้านสุขาภิบาลอาหาร และความพึงพอใจด้านสถานที่ประกอบการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.025 และ p = 0.014 ตามลำดับ) ข้อเสนอแนะบางประการคือควรปรับปรุงด้านสุขาภิบาลอาหาร และสถานที่ประกอบการให้มีความสมบูรณ์ตามหลักวิชาการมากขึ้น

คำสำคัญ: พฤติกรรมการบริโภค; ความพึงพอใจ; โรงอาหาร; โภชนาการ

 

ABSTRACT

The objective of this survey research was to study consumption behavior and satisfaction in the canteenof consumers in the Faculty of Public Health, Mahidol University. The research population consisted of 419 studentconsumers, staff from the Faculty of Public Health, and other random consumers. The research instruments usedwere the personal data questionnaire, knowledge about food and nutrition questionnaire, consumption behavior,and satisfaction in canteen of consumers. Descriptive statistics, Pearson Correlation, and Pearson Chi-square test.Results indicated that there were significant associations between age and knowledge about food and nutrition.(p<0.001), and satisfaction of environmental sanitation. (p = 0.001) There were significant associations betweenconsumers in the Faculty of Public Health, and food sanitation (p = 0.025), and satisfaction in environmentalsanitation. (p = 0.014) Some of the recommendations were that food sanitation, and environmental sanitation shouldbe improved.

Keywords : Consumption behavior; Satisfaction; Canteen; Nutrition