ความก้าวหน้าของขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค เพื่อชะลอการสูญเสียของมวลกระดูกในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

Authors

  • สกาวรัตน์ ภู่ศรี นักศึกษาหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วราภรณ์ เสถียรนพเก้า ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุขไชย สาทถาพร ภาควิชาศัลยศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
  • ภรณี วัฒนสมบูรณ์ ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปรารถนา สถิตย์วิภาวี ภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง, มะเร็งเต้านม, พฤติกรรมการบริโภค, มวลกระดูก, Stages of change, Breast cancer, Eating behavior, Bone mass

Abstract

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนจากผลข้างเคียงของการรักษา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อชะลอการสูญเสียมวลกระดูกเป็นสิ่งจำเป็น วัตถุประสงค์ของการศึกษาแบบกึ่งทดลองเพื่อศึกษาความก้าวหน้าของระดับขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคเพื่อชะลอการสูญเสียของมวลกระดูกในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เข้าร่วมโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผู้เข้าร่วมการศึกษาประกอบด้วย กลุ่มศึกษา 33 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 31 คน ระยะเวลาศึกษา 16 สัปดาห์ กลุ่มศึกษาได้รับโปรแกรมรายกลุ่มและรายบุคคลที่ออกแบบกิจกรรมตามระดับความพร้อมของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม กลุ่มเปรียบเทียบได้รับคู่มือศึกษาด้วยตนเอง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน และแบบวัดขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทดสอบความแตกต่างของขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคภายในกลุ่มใช้ Wilcoxonsigned-ranks test ผลการศึกษา คุณลักษณะทั่วไปและปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกันหลังการศึกษา ระดับขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคนมและผลิตภัณฑ์ ปลาเล็กปลาน้อย และเนื้อสัตว์ไข่ และถั่วต่างๆ ของกลุ่มศึกษาเปลี่ยนแปลงแบบก้าวหน้ามากกว่าก่อนการศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ สรุป โปรแกรมที่ประยุกต์แบบจำลองการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมช่วยเพิ่มระดับขั้นของพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ชะลอการสูญเสียของมวลกระดูกในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

คำสำคัญ: ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง; มะเร็งเต้านม; พฤติกรรมการบริโภค; มวลกระดูก

 

ABSTRACT

Patients with breast cancer are risky to osteoporosis because of the side effect of the treatment. Therefore,modifying eating behavior is essential to delay bone mass loss. The objective of this quasi-experimental study wasto examine a progress in stages of changing eating behavior in breast cancer patients, who participated the eatingbehavioral modification program to delay bone mass loss. Participants consisting of a study group (n = 33) anda comparison group (n = 31) were studied. The study period was covered for 16 weeks. A study group receivedboth group program and individual program, which were designed based on the stage of readiness for a change.A comparison group received a self-study guide. Data were collected by using interview questionnaire of generalinformation, an evaluation form of osteoporosis risk factors, and a form for measuring the stages of change. Thedifference in stages of changing eating behavior within the group was analyzed by Wilcoxon signed-ranks test.The result illustrated that there was no difference of general characteristics and osteoporosis risk factors withinboth groups. After the study, the stages of change of study group in consuming milk and milk products, anchovy,meat, eggs and beans went change into a better way than those before the study and those of a comparison group.In conclusion, Trantheoretical model applied program can increase the stage level of eating behavior in breast cancerpatients to delay bone mass loss.

Key words: Stages of change; Breast cancer; Eating behavior; Bone mass

Downloads