สภาวะสุขภาพและการปฏิบัติด้านสุขอนามัยส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ ในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร

Authors

  • ชนาณิศฐ์ อุประ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด คณะสาธารณสุขศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุล ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Correspondent Author
  • พิศิษฐ์ วัฒนสมบูรณ์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ดุสิต สุจิรารัตน์ ภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ผู้สูงอายุ, สภาวะสุขภาพ, การปฏิบัติสุขอนามัยส่วนบุคคล, การจัดสวัสดิการสังคม, Elderly, Health status, Personal hygiene practice, Social welfare development

Abstract

บทคัดย่อ

ผู้สูงอายุกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทวีปเอเชียรวมทั้งประเทศไทย การวางแผนการจัดสวัสดิการสังคมเป็นมาตรการหนึ่งที่สำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ การศึกษาภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะสุขภาพและการปฏิบัติด้านสุขอนามัยส่วนบุคคลของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ได้ศึกษาผู้สูงอายุ 162 คน ที่สมัครใจเข้าร่วม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์เกี่ยวกับลักษณะทางสังคมประชากร การเจ็บป่วยในช่วง 1 เดือน และการปฏิบัติด้านสุขอนามัยส่วนบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Chi-Square test และ Odds ratio (OR) ที่ระดับความเชื่อมั่นทางสถิติ \alpha = 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุ ร้อยละ 70.4 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 50 อายุระหว่าง 70-79 ปี และ ร้อยละ 70.9สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาหรือต่ำกว่า สภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70.4 มีโรคประจำตัวร้อยละ 58 มีอาการเจ็บป่วยในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ในจำนวนนี้เป็นกลุ่มที่มีอาการบ่อยๆ ตั้งแต่ 4 วัน/สัปดาห์ขึ้นไปพบอาการระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 37.2 ระบบผิวหนังร้อยละ 12.8 และอาการไม่จำเพาะ ร้อยละ 47.9 การปฏิบัติด้านสุขอนามัยส่วนบุคคล พบว่า ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตนในระดับดี คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 22.2 ± 2.6 จากคะแนนเต็ม26 คะแนน เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ศึกษากับการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นบ่อยในช่วง 1 เดือน พบว่า อายุโรคประจำตัว และระยะเวลาที่พักอยู่ในศูนย์ฯ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการเจ็บป่วย (p<0.05, 95%C.I. of OR มากกว่า 1.00) ดังนั้นผู้รับผิดชอบควรคระหนักในการปรับระบบการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ; สภาวะสุขภาพ; การปฏิบัติสุขอนามัยส่วนบุคคล; การจัดสวัสดิการสังคม

 

ABSTRACT

Aging population is growing more rapidly in Asia including Thailand. Planning for social welfaredevelopment is important to increase the quality of life of elderly. The study of health status and personal hygienepractices among elderly in a Social Welfare Development Center for Older Persons, Bangkok, may be valuable.The study included 162 voluntary elderly. They were interviewed using questionnaire, which consisted ofsocio-demographic characteristics, personal hygiene practices, and current illnesses during one month. Data wereanalyzed by using descriptive statistics, odds ratio, and chi-square test at α = 0.05. The result revealed that femaleswere 70.4%, aged 70-79 years were 50% and finished primary education and lower were 70.9%. Approximately70.4% had history of underlying diseases, and 58% had current illnesses during one month. Among elderly withcurrent illnesses, 37.2% had regular respiratory symptoms, 12.8% had skin problems, and 47.9% had non-specificsymptoms. Personal hygiene practice score among studied elderly showed good level with a mean score of 22.2 ±2.6 from 26 scores. The relationship between socio-demographic characteristics, personal hygiene practices, andcurrent illnesses was analyzed and showed that age, underlying disease, and time resident were significantlyassociated with the presence of current illnesses, p < 0.05 (95% C.I. of OR >1.00). The responsible officers shouldaware to promote the social welfare for good quality of life among this group.

Key words: Elderly; Health status; Personal hygiene practice; Social welfare development

Downloads