การประเมินการออกแบบภายในรถพยาบาลฉุกเฉินเพื่อความปลอดภัย ในการปฏิบัติงานของเครือข่ายโรงพยาบาลจังหวัดแห่งหนึ่ง

Authors

  • พิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุล ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สิริกุล พิพิธแสงจันทร์ โรงพยาบาลสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
  • ดุสิต สุจิรารัตน์ ภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พิศิษฐ์ วัฒนสมบูรณ์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

รถพยาบาลฉุกเฉิน, การออกแบบภายในรถ, ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน, การบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน, Ambulance, Interior design, Work safety, Emergency Medical Service (EMS)

Abstract

บทคัดย่อ

บุคลากรที่ปฏิบัติงานในรถพยาบาลฉุกเฉินอาจได้รับภาวะเสี่ยงจากการออกแบบภายในรถที่ไม่เหมาะสมและความไม่พร้อมของอุปกรณ์ การศึกษานี้ได้ประเมินความเหมาะสมของการออกแบบภายในรถและความพร้อมของอุปกรณ์ที่จำเป็นในการป้องกันความเสี่ยงจากการปฏิบัติงาน ตามแนวทางของสมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ประเทศสหรัฐอเมริกา (2008) จำนวน 47 คัน ของโรงพยาบาลประจำจังหวัดแห่งหนึ่งและโรงพยาบาลเครือข่าย และสัมภาษณ์บุคลากรที่ปฏิบัติงานจำนวน 35 คน ถึงความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของการออกแบบภายในรถ นอกจากนี้ได้ติดตามสังเกตในขณะที่มีการปฏิบัติการจริงจำนวน 30 คันๆ ละ 1 เที่ยวรอบวิ่ง ผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 74.5 เป็นรถพยาบาลฉุกเฉินรุ่นใหม่ มีส่วนกั้นแยกช่วงหน้าห้องคนขับรถออกจากช่วงหลังซึ่งจัดเป็นห้องพยาบาลรวมทั้งช่องหน้าต่างที่เปิดเลื่อนได้เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร ร้อยละ 83 มีระบบระบายอากาศไฟฟ้า ร้อยละ 93.6 มีตู้เก็บอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่มิดชิด ร้อยละ 97.9 มีเตียงผู้ป่วยแบบมีล้อเลื่อน ร้อยละ 91.5 มีเวชภัณฑ์ยาอย่างพอเพียงแต่มากกว่าร้อยละ 50 ยังขาดอุปกรณ์กู้ภัยฉุกเฉินประจำในรถ เมื่อพิจารณาถึงอุปกรณ์มาตรฐานเพื่อการป้องกันการติดเชื้อและการบาดเจ็บในขณะปฏิบัติงาน พบว่า ร้อยละ 25.5 มีอุปกรณ์ป้องกันตา ร้อยละ 53.2 มีอุปกรณ์สำหรับรัดเพื่อความปลอดภัยขณะรถวิ่งหรือหยุดกระทันหัน ข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคลากรที่ปฏิบัติงาน พบว่า ร้อยละ 80มีความเห็นด้วยกับการมีส่วนกั้นแยกระหว่างส่วนคนขับกับส่วนผู้ป่วย ร้อยละ 91.4 มีความเห็นว่าในส่วนผู้ป่วยควรสามารถรองรับผู้ป่วยและบุคลากรได้อย่างน้อย 3 คน เป็นต้น ข้อมูลจากการสังเกตขณะปฏิบัติงาน พบว่า รถพยาบาลฉุกเฉินเกือบทุกคัน (27/30 คัน) ภาชนะใส่ของมีคมและถังขยะติดเชื้อไม่มีการติดตั้งที่มั่นคง อาจทำให้เกิดอันตรายได้รถทุกคันผู้ปฏิบัติงานไม่มีการเปิดระบบระบายอากาศและไม่ได้ปรับอุณหภูมิภายในรถตามเกณฑ์ ผลการศึกษาโดยสรุปแสดงให้เห็นว่า ควรมีการปรับปรุงการออกแบบภายในรถพยาบาลฉุกเฉินให้มีความเหมาะสมกับการปฏิบัติงานนอกจากนี้ต้องมีการดูแลและการเตรียมความพร้อมการใช้รถเพื่อความปลอดภัยและการลดความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานด้วย

คำสำคัญ: รถพยาบาลฉุกเฉิน; การออกแบบภายในรถ; ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน; การบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน

 

ABSTRACT

Personnel working in an ambulance may be at risk from the inappropriate interior design in ambulance.This study attempts to assess the appropriate interior design and standard supplies of an ambulance for safetywork followed a guideline of The American College of Emergency Physicians (2008) in a provincial hospitalnetwork. Forty-seven ambulances were assessed and 35 personnel were interviewed by voluntary participation.Additionally, 30 ambulances were observed the real practice. Results reveal that 74.5% of studied ambulancesare new model designs and have the driver and the patient compartments. Approximately, 83% have an electricalair ventilation system, and 93.6% have enclosed storage cabinet. About 97.9% have standard stretcher, and 91%have an appropriate medication. Standard supplies for infection control and injury prevention showed that 25.5%have eye protection equipments, and 53.2% have appropriate seat belts. Data from interviews showed that 80%agreed with having the driver and patient compartments and 91.4% agreed that the patient compartment shouldbe accommodated to transport with at least 3 persons. For observation, it was found that 90% of observed ambulances(27/30) have a sharp disposal container placed on the floor which may slip or spill out of disposal when theambulance stops immediately. All observed ambulances, the air ventilation systems were not opened, and thetemperature was not adjusted in standard level. In conclusion, the study revealed, not only the interior ambulancedesign should be improved, but also, the routine care of ambulance should be emphasized for work safety.

Key words: Ambulance; Interior design; Work safety; Emergency Medical Service (EMS)

Issue

Section

Original Articles