การรับรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม และผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ ของประชาชนที่อาศัยในพื้นที่การทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรม ตำบลห้วยกะปิ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
Keywords:
การรับรู้, การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม, ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ, การทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรม, Perception, Environmental change, Health impact, Mining industryAbstract
บทคัดย่อ
การทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของประชาชนทั้งระยะสั้นและระยะยาว การวิจัยนี้จึงต้องการ ศึกษาการรับรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของประชาชนจากการทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรม เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างในเขตเทศบาลตำบลห้วยกะปิ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 349 คน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 8 คน วิเคราะห์ด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test วิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย ประชาชนรับรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม โดยรวม และด้านกายภาพ มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่ดี ร้อยละ 39.3 และ 43.0 ส่วนผลกระทบต่อภาวะสุขภาพโดยรวมและ ด้านการสาธารณสุขได้รับผลกระทบในทางไม่ดีร้อยละ 35.2 และ 39.5 ประชาชนที่อาศัยอยู่ห่างจากเหมืองแร่ ระยะน้อยกว่าหรือเท่ากับ1 กิโลเมตร และที่พักอาศัยอยู่ห่าง มากกว่า 1 กิโลเมตร รับรู้ต่อการเปลี่ยนการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมด้านกายภาพ และผลกระทบต่อภาวะสุขภาพด้านการสาธารณสุข แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)สอดคล้องกับข้อมูลเชิงคุณภาพที่พบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่หินส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ ประชาชนป่วยด้วยโรคภูมิแพ้ โรคทางเดินหายใจ และโรคซิลิโคซิส
หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ควรกำหนดแนวทางในการรักษา และส่งเสริมสภาพแวดล้อมและภาวะสุขภาพ แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
คำสำคัญ: การรับรู้; การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม; ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ; การทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรม
ABSTRACT
The mining industry may cause environmental changes and have an impact upon public health on botha short-term and a long-term basis. This research was aimed at identifying people’s perceptions of environmentalchanges, and the impact upon their due to the mining industry. This was done by collecting quantitative informationfrom 349 samples and from qualitative information from eight interviewees. The quantitative data were analyzedusing percentage, mean, standard deviation, and t-test, while the qualitative data were analyzed using contentanalysis. The results revealed that perceptions of the overall environmental changes and negative physicalchanges were 39.3% and 43.0% respectively. In addition, the overall impact upon health and the negative impactupon health were found to be 35.2% and 39.5% respectively. This study also found that people who lived less thanor equal to 1 kilometer, and those who more than 1 kilometer from the mining area had significantly differentperceptions (p< 0.05) about environmental changes and their negative impact upon health. This corresponded tothe qualitative finding that the environmental changes due to the mining industry had an influence on healthproblems including allergies, respiratory health problems, and Silicosis.
The study results suggested that public and environmental health sectors should focus on promotinga good environment and health status of the people, and the treating and monitoring of those affected bythe changes
Keywords: Perception; Environmental change; Health impact; Mining industry
Issue
Section
License
Creative Commons License CC-BY-ND