คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

Authors

  • ชุติเดช เจียนดอน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
  • นวรัตน์ สุวรรณผ่อง ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ฉวีวรรณ บุญสุยา ภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นพพร โหวธีระกุล ภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุในชนบท, ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง, แบบวัดคุณภาพชีวิต SF–36, Quality of life, rural elderly, self-esteem, SF–36 questionnaires

Abstract

บทคัดย่อ

การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นภาระต่อสังคมในการดูแล การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท และหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคล ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัว และการสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดคุณภาพชีวิต SF-36 V2.0 สัมภาษณ์ผู้สูงอายุ จำนวน 478 คน ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน–31 กรกฎาคม 2553 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุมีความพอใจกับคุณภาพชีวิตด้านร่างกายร้อยละ 50.4 และพอใจด้านจิตใจร้อยละ 52.7 ปัจจัยที่สามารถทำนายคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย 6 ปัจจัย ได้แก่ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองภาวะสุขภาพ การเข้าร่วมกิจกรรมของชมรม การศึกษา อาชีพและอายุ โดยสามารถอธิบายคุณภาพชีวิตด้านร่างกายได้ร้อยละ 30.5 ปัจจัยที่สามารถทำนายคุณภาพชีวิตด้านจิตใจ 4 ปัจจัย ได้แก่ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ภาวะสุขภาพการเข้าร่วมกิจกรรมของชมรม และสัมพันธภาพในครอบครัว โดยสามารถอธิบายคุณภาพชีวิตด้านจิตใจได้ร้อยละ21.5 บุคลากรสาธารณสุขควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ส่งเสริมสัมพันธภาพในครอบครัวองค์กรท้องถิ่นควรร่วมให้การส่งเสริมกิจกรรมเหล่านี้ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้สูงอายุในชนบท

คำสำคัญ: คุณภาพชีวิต; ผู้สูงอายุในชนบท; ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง; แบบวัดคุณภาพชีวิต SF–36

 

ABSTRACT

Due to the continuous increase in the number of the elderly, Thai society has the burden of responsibilityfor taking care of them. This cross-sectional study aimed to assess the quality of life of rural elderly and determinethe relationships between general characteristics, self – esteem, family relations, social support, and quality of life.Data on the quality of life (QoL) were collected by using the Short Form 36 (SF–36 V2.0) while interviewing 478elderly, from June 1 to July 31, 2010. Statistics used were Chi-square, Pearson’s Product Moment CorrelationCoefficient and Stepwise Multiple Regression. About 50.4% of the elderly were satisfied with the quality of liferegarding their physical health and 52.7% regarding their mental health. The six predictors of physical health inrelation to QoL were self-esteem, health status, participation in elderly club activities, educational level, occupation,and age; these could explain 30.5% of the variation in physical health aspect of QoL. Four predictors of mentalhealth in relation to QoL were self-esteem, health status, participation, and family relations; these could explain 21.5%of the variations in mental health as it relates to QoL. Health personnel should promote the elderly’s self-esteemand familial relations among the needy elderly. Rural seniors should be encouraged and supported by the localauthority according to their needs, to ensure a better quality of life.

Key words: Quality of life; rural elderly; self-esteem; SF–36 questionnaires

Issue

Section

Original Articles