คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี

Authors

  • ธาริน สุขอนันต์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • สุภาวัลย์ จาริยะศิลป์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • ทัศนันท์ ทุมมานนท์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • ปิยรัตน์ จิตรภักดี วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

Keywords:

คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, Quality of life, Elderly

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตและเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 335 คนซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเก็บข้อมูลระหว่าง วันที่ 1–30 เมษายน 2553 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุซึ่งดัดแปลงมาจากเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อภาษาไทยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ความแปรปรวนทางเดียวและ Tukey’s HSD

ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (\bar{X} = 93.76) โดยผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตระดับปานกลาง (\bar{X} = 91.49) ร้อยละ 64.2 รองลงมาเป็นระดับดี (\bar{X} = 108.73) ร้อยละ 24.8และระดับไม่ดี (\bar{X} = 73.43) ร้อยละ 11.0 เม่อื พิจารณารายได้พบว่า คุณภาพชีวิตของผ้สูงอายุที่อยู่ในระดับปานกลางได้แก่ ด้านร่างกาย สภาพแวดล้อม และจิตใจ ตามลำดับ (\bar{X} = 27.51, 25.06 และ 21.15) ส่วนที่อยู่ในระดับดี คือด้านความสัมพันธ์ทางสังคม (\bar{X} = 20.04)

ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ในปัจจัยต่อไปนี้ คือ อายุ, ระดับการศึกษา, อาชีพ, รายได้, การเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคมและการรับสวัสดิการกองทุนผู้สูงอายุ คือ ผู้ที่มีอายุ 60–69 ปี, การศึกษาตั้งแต่อนุปริญญาขึ้นไป,อาชีพข้าราชการบำนาญ, รายได้เฉลี่ยมากกว่า 5,001 บาท, เป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม, และไม่รับสวัสดิการกองทุนผู้สูงอายุ จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่ากลุ่มอื่น จากผลการศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเน้นการพัฒนาด้านร่างกายจิตใจและสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุคุณภาพชีวิตให้มากขึ้นเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตจากปานกลางไปสู่ระดับดี

คำสำคัญ: คุณภาพชีวิต; ผู้สูงอายุ

 

ABSTRACT

This research centered on a survey concerning the quality of life for older residents in the BansuanMunicipality of Chonburi Province. Individual characteristic factors were observed and noted and then correlatedwith their quality of life. 335 people were selected to participate and were determined by using multistage randomsampling. Interviews were conducted during the month of April, 2010. The interview/questionnaire was based uponthe quality of life indicators set forth by the W.H.O. (WHOQOL_BREF_THAI) and contained a five pointrating scale. The data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way ANOVA,and Tukey’s HSD. The study found that the overall quality of life of the elderly was at a fair level (\bar{X} = 93.76)with 64.2% of a fair level (\bar{X} = 91.49), 24.8% of a good level (\bar{X} = 108.73) and 11.0% of a poor level (\bar{X} = 73.43).When comparing the factors or experiences of the participants, there were noticeable differences withregard to age, education, occupation, income, membership or participation in social groups and (p< 0.05).Individuals reporting a higher of quality of life were those individuals between the ages of sixty and sixty-nine,those with a Diploma or Bachelor’s Degree, government pensioners, those with a salary over 5000 Baht,members of social groups, and those not having pensions. The research results suggest that the governmentshould place emphasis on promoting the quality of life of the elderly in terms of physical, mental and environmentaldomains, in order to increase their quality of life.

Key words: Quality of life; Elderly

Issue

Section

Original Articles