ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลเท้าและแผลที่เท้าด้วยตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
Keywords:
การรับรู้ความสามารถของตนเอง, การดูแลเท้าและแผลที่เท้าด้วยตนเอง, ผู้ป่วยเบาหวาน, self-efficacy, foot self-care behaviors and foot ulcers, diabetic patientsAbstract
ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลเท้าและแผลที่เท้าด้วยตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของโรคเบาหวานคือแผลเรื้อรังที่เท้า การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลเท้าและแผลที่เท้าด้วยตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ที่ประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 32 ราย ที่มีแผลเท้าในระดับ 3 ณ คลินิกเท้าเบาหวาน โรงพยาบาลกระทุ่มแบน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 17 ราย กลุ่มเปรียบเทียบ 15 ราย ใช้เวลาการศึกษา 8 สัปดาห์ ประกอบด้วยกิจกรรมกลุ่ม 4 ครั้ง และโทรศัพท์ติดตาม 4 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลก่อน-หลังการทดลองด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square Test, Independent T-test, Paired Sample T-test, Wilcoxon Signed Ranks Test, Mann-Whitney U Test และ Z-test ภายหลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในผลของการปฏิบัติ และการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลเท้าและแผลที่เท้าด้วยตนเองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่พบการเกิดแผลใหม่ และกลุ่มทดลองไม่พบการลุกลามของแผล ในขณะที่กลุ่มเปรียบเทียบร้อยละ 13.3 พบการลุกลามของแผล แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p=0.12) ดังนั้นโปรแกรมจึงสามารถส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลเท้าและแผลที่เท้าด้วยตนเองของผู้ป่วยเบาหวานได้
Effect of Promoting Program for Foot Self-Care Behaviors and Foot Ulcers among Diabetic Patients, Krathumbaen Hospital, Samut Sakhon Province
A major complication of diabetes is chronic foot ulcer. This quasi-experimental, two group pretest-posttest research design was conducted to study the effect of a promoting program for self-care behaviors and foot ulcer among patients with diabetes applying self-efficacy theory. The target groups comprised 32 diabetic patients with foot ulcer at level 3 at the Diabetes Foot Clinic, Krathumbaen Hospital. The experimental group consisted of 17 patients and 15 patients comprised the comparison group. The 8-week program conducted group activities, followed up by telephone, four times. Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, Chi-square test, Independent t-test, Paired Sample t-test, Wilcoxon signed ranks test, Mann-Whitney U test and z-test. After the experiment the experimental group had significantly higher mean scores of self-efficacy, outcome expectations and behavior of foot self-care and foot ulcer than the comparison group (p <0.05). The diabetic patients in the two groups did not present new ulcers. The progression of ulcer was not found in the experimental group while it was in the comparison group (13.3%) without significance (p = 0.12). Therefore, the program could promote self-care of foot and foot ulcer of diabetic patients.
Downloads
Published
Issue
Section
License
Creative Commons License CC-BY-ND