การประเมินผลการเรียนรู้และการจัดกระบวนการสร้างเสริมสุขภาวะ ในสถานประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย ตามโมเดล Kirkpatrick

Authors

  • ขวัญเมือง แก้วดำเกิง Department of Health Education and Behavioral Sciences, Faculty of Public Health, Mahidol University
  • จำเนียร ชุณหโสภาค Research and Development Institute, Ramkhamheang University

Keywords:

Kirkpatrick’s evaluation, happy workplace program, Thai garment industry, การประเมิน Kirkpatrick, กระบวนการสร้างเสริมสุขภาวะ, กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย

Abstract

การประเมินผลการเรียนรู้และการจัดกระบวนการสร้างเสริมสุขภาวะในสถานประกอบการตามโมเดล Kirkpatrick ใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการเรียนรู้และการจัดกระบวนการสร้างเสริมสุขภาวะให้กับพนักงานในสถานประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย ดำเนินงานระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม พ.ศ.2559 กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย พนักงานในสถานประกอบการ จำนวน 293 คน ทีมสร้างสุของค์กร 4 แห่ง จำนวน 12 คน และทีมวิทยากรกระบวนการ จำนวน 7 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบตรวจสอบสุขภาวะองค์กร แบบบันทึกกิจกรรม และแนวทางการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ Paired T –test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการประเมินฯให้สารสนเทศ 4 ด้าน คือ (1) การตอบสนอง (Reaction) ได้แก่ แนวความคิด และทัศนคติ (2) การเรียนรู้ (Learning) ได้แก่ การรับรู้แนวคิดการสร้างองค์กรสุขภาวะ ทักษะการทำงาน ทักษะการใช้ชีวิต (3) การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม (Behavior change) ได้แก่ พฤติกรรมสุขภาพ และ (4) ผลลัพธ์ (Results) ได้แก่ ปัจจัยสร้างเสริมสุขภาวะ และผลต่อธุรกิจ ซึ่งพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้น และมีความแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการจัดกระบวนการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในสถานประกอบการ 3 แห่ง รูปแบบการประเมินนี้สามารถให้สารสนเทศและมุมมองที่รอบด้านมากขึ้น สำหรับใช้พัฒนากระบวนการฯ เพื่อให้พนักงานเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

Kirkpatrick’s Evaluation Model of the Happy Workplace Program Learning and Training in the Thai Garment Industry

The PAR of Kirkpatrick’s evaluation model of the happy workplace program aimed to evaluate the effectiveness of learning and training among employees participating in the happy workplace program in Thai garment industry companies, implemented from July to December 2016. The sample comprised 293 employees purposive selected, 12 HWP staff in 4 companies and 7 facilitators. Data were collected using a questionnaire, a happy workplace index checklist, activity record and interview guide. Data analysis included descriptive statistics, paired t–test and content analysis. The results showed four dimensions, i.e., reaction (concept and attitude), learning (HWP perceived, work skills and life skills), behavior change (health behaviors) and results (health promoting factors and effects on business). The mean score of work skills, life skills, health behaviors and health promoting factors after implementation among those increased significantly than before implementation in 3 companies. This evaluation model could be used to improve the efficiency of employees learning in other programs.

Author Biography

จำเนียร ชุณหโสภาค, Research and Development Institute, Ramkhamheang University

Research and Development Institute, Ramkhamheang University

Downloads

Published

2018-04-30

Issue

Section

Original Articles