สถานการณ์ความรุนแรงในสถานที่ทำงานและการจัดการความรุนแรง ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง
Keywords:
ความรุนแรงในสถานที่ทำงาน, มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ, การจัดการด้วยตนเอง, workplace violence, self-management, autonomy universityAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความรุนแรง และการจัดการความรุนแรงในสถานที่ทำงาน รูปแบบการศึกษาภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 250 คน เป็นกลุ่มบุคลากรผู้สอน 66 คน และกลุ่มบุคลากรฝ่ายสนับสนุนการสอน 184 คน จากมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มบุคลากรผู้สอนไม่เคยได้รับประสบการณ์การถูกกระทำความรุนแรงทางร่างกาย (ร้อยละ 100) แต่กลุ่มบุคลากรฝ่ายสนับสนุนการสอนเคยมีประสบการณ์การถูกกระทำความรุนแรงทางร่างกายร้อยละ 2.7 โดยผู้กระทำเป็นผู้ร่วมงานในกลุ่มงานเดียวกัน สาเหตุจากความเครียดและความโกรธ สำหรับการถูกกระทำความรุนแรงทางจิตใจในกลุ่มบุคลากรผู้สอนและกลุ่มบุคลากรฝ่ายสนับสนุนการสอนเคยถูกกระทำร้อยละ 48.5 และ68.5 ตามลำดับ ในกลุ่มบุคลากรผู้สอนผู้กระทำเป็นผู้ร่วมงานในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งไม่ทราบสาเหตุของการถูกกระทำ แต่กลุ่มบุคลากรฝ่ายสนับสนุนการสอนผู้กระทำเป็นหัวหน้างานหรือผู้บริหาร สาเหตุมาจากความบกพร่องหรือผิดพลาดในการสื่อสาร ซึ่งกลุ่มบุคลากรผู้สอนและกลุ่มบุคลากรฝ่ายสนับสนุนการสอนมีวิธีการจัดการความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยการตอบโต้ผู้กระทำความรุนแรงต่อตนเองด้วยลักษณะเดียวกันในบางครั้ง ร้อยละ 54.3 และ58.3 ตามลำดับ ส่วนใหญ่ไม่เคยแจ้งหรือรายงานเหตุการณ์ความรุนแรงให้ผู้มีอำนาจเหนือกว่ารับทราบเมื่อเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงต่อตนเอง สถาบันการศึกษาจึงควรมีการจัดหามาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการกระทำความรุนแรงในสถานที่ทำงาน
Situation of Workplace Violence and Self-management by Autonomous University Personnel
The objectives of this study were to determine the situation of workplace violence and self-management for personnel. The study employed a cross-sectional design and was conducted among Thai autonomous university personnel. Samples comprised 250 employees, 66 instructors and 184 support staff. Results found that no instructors had experienced physical violence, but 2.7% of support staff had. In all, 48.5% of instructors and 68.5% of support staff had experienced psychological violence. When this psychological violence was inflicted on instructors by supervisors or university executives, it was due to defects or errors in communications. A total of 54.3% of violence management for instructors and 58.3% for support staff reflected upon antagonists more than targets. Most targets did not report experienced violence to their supervisor or faculty dean. These findings suggested that in the university setting, more violence surveillance may be needed to prevent workplace violence.
Downloads
Published
Issue
Section
License
Creative Commons License CC-BY-ND