การทบทวนวรรณกรรม: ความไม่มั่นคงทางอาหารและโรคอ้วนในเด็ก
Keywords:
ความไม่มั่นคงทางอาหารระดับครัวเรือน, เด็กอ้วน, วิธีการเลี้ยงดูเด็กAbstract
ความมั่นคงทางอาหารหมายถึงการที่ประชากรทุกคนสามารถเข้าถึงและได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ปลอดภัย และเพียงพอตามความต้องการของร่างกาย ในระยะ 10-15 ปีที่ผ่านมา ข้อมูลงานวิจัยพบว่า ความไม่มั่นคงทางอาหารระดับครัวเรือนเชื่อมโยงไปสู่การเกิดโรคอ้วนในเด็ก ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางสังคม-เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และอิทธิพลสื่อโฆษณาทางทีวี ปัจจัยความยากจนอาจทำให้สมาชิกและเด็กในครอบครัวไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่ดีต่อสุขภาพ แต่เด็กกลับจะได้รับอาหารที่ให้พลังงานสูง ไขมันและน้ำตาลมากเกิน ในครอบครัวที่ไม่มั่นคงทางอาหาร ผู้ปกครองมีแนวโน้มที่จะใช้วิธีการเลี้ยงดูเด็กแบบจำกัดอาหารหรือการบังคับเด็กให้กินอาหารมากขึ้น ทำให้พฤติกรรมตอบสนองของเด็กเปลี่ยนไปจากภาวะปกติและเด็กกินอาหารมากขึ้น การป้องกันโรคอ้วนต้องอาศัยนโยบายและกลยุทธ์การดำเนินงานหลายด้านเช่น การพัฒนาและเพิ่มความเข้มแข็งทางการเกษตร การเพิ่มการจ้างงานเพื่อเพิ่มรายได้แก่ประชาชน การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต การให้โภชนศึกษาแก่ประชาชนและการเพิ่มความเข้มแข็งของระบบบริการสาธารณสุขในชุมชน ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเป็นกลไกสำคัญที่สร้างสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่เหมาะสม เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีวีถีการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น
Food Insecurity and Childhood Obesity: Mini-review
Food security is defined as people can access adequate nutritious and safe foods to meet their nutrient requirements at all times. During the past 10-15 years, studies have demonstrated that household food insecurity could contribute to childhood obesity. This is attributable to socio-economic influenced culture and mass media. Apart from these factors, poverty may affect household members and children may not be able to access healthy foods; but in turn, they tend to consume more foods characterized by high energy, fat and sugar content. A food-insecure household is created when parents tend to use more restrictive feeding or pressuring strategies to force children to eat; thereby, disrupting children’s normal eating patterns and causing increased food consumption. To prevent childhood obesity, multi-disciplinary approaches should be implemented. These involve developing and strengthening agricultural production, increasing job employment to increase people’s incomes, applying the philosophy of Sufficiency Economy for life guidance, providing nutrition education to people as well as strengthening primary health care services in community. Likewise, the government-private partnership is also a key component to create appropriate social environments for people to access more healthy food and practice healthier lifestyles.
Downloads
Published
Issue
Section
License
Creative Commons License CC-BY-ND