The Effectiveness of Continuing Care Program in Valvular Heart Surgery Patients Receiving Warfarin on Warfarin Adherence and Dietary Consumption Behavior
Main Article Content
Abstract
Purpose: This experimental research study was conducted to determine the effectiveness of continuing care program for patients after valvular heart surgery receiving warfarin on warfarin adherence and dietary consumption behavior.
Design: Experimental research design.
Methods: The samples consisted of 68 patients with valvular heart disease who underwent a valvular heart surgery at a University Hospital and were receiving warfarin during the period from July 2013 to March 2014. The sample were randomly assigned into a control group and an experimental group, each group had 34 patients. The control group received usual care while the experimental group received the continuing care program for valvular heart surgery patients receiving warfarin. Data were collected by using a questionnaire composing of personal demographics, physical risks and discharge assessment were analyzed by using Chi-square, warfarin adherences scales was analyzed by using a Mann-Whitney U test and dietary consumption behavior was analyzed by using independent t- test and paired t-test.
Main findings: For the experimental group, the warfarin adherence score at the 12th week was significantly higher than that of the control group (p = .00). The dietary consumption behavior scores at the 4th and 12th week were significantly higher than those of the control group (p = .00, p = .00).
Conclusion and recommendations: Nurses and the multidisciplinary care team should develop a continuing care program for valvular heart surgery patients receiving warfarin in order to ensure the warfarin adherence and dietary consumption behavior.
ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจที่ได้รับยาวาร์ฟารินต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาวาร์ฟารินและพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจที่ได้รับยาวาร์ฟารินต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาวาร์ฟารินและพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจที่ได้รับยาวาร์ฟารินที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย จำนวน 68 ราย ดำเนินการตั้งแต่กรกฎาคม 2556 ถึงมีนาคม 2557 กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 34 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองไดรับโปรแกรมการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยผ่าตัดลิ้นหัวใจที่ได้รับยาวาร์ฟาริน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความเสี่ยงทางด้านร่างกายและการจำหน่ายผู้ป่วยแบบบันทึกความสม่ำเสมอในการรับประทานยาวาร์ฟารินและแบบบันทึกพฤติกรรมการบริโภคอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Mann-Whitney U test, Independent t test และ Pair t-test
ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีความสม่ำเสมอในการรับประทานยาวาร์ฟารินในสัปดาห์ที่ 12 สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .00) และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารในสัปดาห์ที่ 4 และ 12 สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .00, p = .00)
สรุปและข้อเสนอแนะ: ทีมพยาบาลผู้ดูแล ควรพัฒนาโปรแกรมดังกล่าวอย่างต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจที่ได้รับยาวาร์ฟาริน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความสม่ำเสมอในการรับประทานยาวาร์ฟาริน และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสมมากขึ้น
คำสำคัญ: โปรแกรมการดูแลต่อเนื่อง พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ความสม่ำเสมอในการรับประทานยา การผ่าตัดลิ้นหัวใจ
Article Details
Copyright Notice: Nursing Science Journal of Thailand has exclusive rights to publish and distribute the manuscript and all contents therein. Without the journal’s permission, the dissemination of the manuscript in another journal or online, and the reproduction of the manuscript for non-educational purpose are prohibited.
Disclaimer: The opinion expressed and figures provided in this journal, NSJT, are the sole responsibility of the authors. The editorial board bears no responsibility in this regard.