Factors Predicting Pediatric Nurses’ Practices of Family-Centered Care

Main Article Content

Jindarat Somjainuek
Tassanee Prasopkittikun
Arunrat Srichantaranit

Abstract

Abstract

Purpose: Pediatric nurses are important personnel who integrate family-centered care into practice. The study aimed at exploring predictive power of factors as the nurses’ age, experience in pediatric nursing, types of wards working, and the perceptions of necessary elements of family-centered care on pediatric nurses’ practices of family-centered care.

Design: Correlational predictive design.

Methods: The study sample involved 159 professional pediatric nurses from a hospital, with the following inclusion criteria: having at least two-year experience in pediatric nursing, and not holding a position of head nurse or higher. Data collection was performed using a general
information questionnaire and the Family-centered Care Questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation coefficient, point bi-serial correlation coefficient, and multiple regression analysis.

Main findings: The results revealed that all independent variables could account for 17% of the variance explained in the family-centered care practices of pediatric nurses (R2 = .17, F(3, 155) = 10.58, p < .001). However, the perceptions of necessary elements of family-centered care was the only significant predictor (β = .38, p < .001).

Conclusion and recommendations: A nursing division should develop strategies for raising nurses’ awareness about the necessity of family-centered care and also provide instrumental support to enhance the nursing practice. The concept of family-centered care should also be embedded as an essence of pediatric nursing among students so that these graduates will be equipped with a positive attitude and skills for family-centered care practice.

Keywords: family-centered care, nursing practice, pediatric nurses

 

ปัจจัยทำนายการปฏิบัติของพยาบาลเด็กในการดูแลโดยมีครอบครัวเป็นศูนย์กลาง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: พยาบาลเด็กเป็นบุคลากรสำคัญในการนำแนวคิดการดูแลโดยมีครอบครัวเป็นศูนย์กลางสู่การปฏิบัติการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของปัจจัยด้านพยาบาล ได้แก่ อายุของพยาบาล ประสบการณ์ด้านการพยาบาลเด็ก ประเภทหอผู้ป่วยที่ทำงาน และการรับรู้ความจำเป็น ของการดูแลโดยมีครอบครัวเป็นศูนย์กลางต่อการปฏิบัติของพยาบาลเด็กในการดูแลโดยมีครอบครัวเป็นศูนย์กลาง

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลเด็ก ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง โดยคุณสมบัติตามที่กำหนด ได้แก่ มีประสบการณ์เป็นพยาบาลเด็กมาอย่างน้อย 2 ปี และไม่เป็นผู้บริหารตั้งแต่ระดับหัวหน้าพยาบาลขึ้นไป จำนวน 159 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามการดูแลโดยมีครอบครัวเป็นศูนย์กลางวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย : ตัวแปรที่ศึกษาสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการปฏิบัติของพยาบาลเด็กในการดูแลโดยมีครอบครัวเป็นศูนย์กลางได้ร้อยละ 17 (R2 = .17, F(3, 155) = 10.58, p < .001) โดยมีเพียงปัจจัยเดียว คือ การรับรู้ความจำเป็นของการดูแลโดยมีครอบครัวเป็นศูนย์กลาง ที่สามารถทำนายการปฏิบัติของพยาบาลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .38, p < .001)

สรุป และข้อเสนอแนะ: หน่วยงานควรพัฒนากลยุทธ์ที่สร้างความตระหนักให้แก่พยาบาลเด็กถึงความจำเป็นของการดูแลโดยมีครอบครัวเป็นศูนย์กลาง และสนับสนุนเชิงรูปธรรมให้เกิดการปฏิบัติที่เป็นจริง นอกจากนี้ สถาบันการศึกษาพยาบาลควรปลูกฝังแนวคิดกับการดูแล โดยมีครอบครัวเป็นศูนย์กลางให้เป็นหัวใจของการพยาบาลเด็ก เพื่อให้บัณฑิตพยาบาลมีทัศนคติที่ดีและความพร้อมด้านทักษะในการดูแลโดยมีครอบครัวเป็นศูนย์กลาง

คำสำคัญ: การดูแลโดยมีครอบครัวเป็นศูนย์กลาง การปฏิบัติพยาบาล พยาบาลเด็ก

Article Details

How to Cite
Somjainuek, J., Prasopkittikun, T., & Srichantaranit, A. (2016). Factors Predicting Pediatric Nurses’ Practices of Family-Centered Care. Nursing Science Journal of Thailand, 34(2), 70–79. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/62033
Section
Research Papers