The Effect of Psycho-Education Program on Quality of Life in Women with Cervical Cancer Undergoing Radiation Therapy

Main Article Content

Chalanda Jodjum
Kanaungnit Pongthavornkamol
Sasima Kusuma Na Ayuthaya

Abstract

Abstract

Purpose: To examine the effect of a 5-week Health Promotion Psycho-Education Program (HPPP) on the quality of life of women with cervical cancer undergoing radiation therapy.

Design: quasi-experimental research.

Methods: The sample consisted of 52 women newly diagnosed with cervical cancer who were receiving radiation therapy; 27 subjects were assigned to the experimental group and 25 to the control group. The experimental group received the HPPP program 5 weeks which included group-based teaching and psycho-supportive groups, individual counseling, and telephone coaching with the manual, while the control group received only the manual. Data were collected using FACT-Cx Thai
version at week 1 before program implementation, and after completion of the program at week 5 on the last day of radiation therapy. Data were analyzed by descriptive statistics and ANCOVA using pre-test QOL as a covariate.

Main findings: The results revealed that after completing the HPPP at the end of week 5, the experimental group had higher FACT-Cx scores (M = 150.33, SD = 4.89) than the control group (M = 130.84, SD = 5.78) with statistical significance (F = 168.86, df = 1, p < .05).

Conclusion and recommendations: This finding suggested that the HPPP could be an efficacious intervention for improving quality of life through adopting health-promoting behaviors. Nurses should pay attention to the HPPP implementation in women with cervical cancer for
improving their quality of life during cancer treatment. A follow-up study with long-term monitoring on health promoting behaviour and QOL is recommended.
 


ผลของโปรแกรมให้ความรู้และประคับประคองจิตใจต่อคุณภาพชีวิตในสตรีมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับรังสีรักษา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมให้ความรู้และประคับประคองจิตใจมุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตในสตรีมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับรังสีรักษา

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีมะเร็งปากมดลูกจำนวน 52 คน ที่มารับการรักษาด้วยการฉายรังสี ได้รับการจัดเข้ากลุ่มทดลอง 27 คนและกลุ่มควบคุม 25 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมให้ความรู้และประคับประคองจิตใจมุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ ระยะเวลา 5 สัปดาห์ ประกอบด้วย การสอนแบบกลุ่ม การเข้ากลุ่มประคับประคองด้านจิตใจ การให้คำปรึกษารายบุคคล คู่มือ และการให้คำแนะนำและกระตุ้นการปฏิบัติพฤติกรรมทางโทรศัพท์ ขณะที่
กลุ่มควบคุมได้รับเฉพาะคู่มือเพื่อศึกษาด้วยตนเอง โดยทั้งสองกลุ่มได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพชีวิตสำหรับผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกโดยประเมินก่อนเริ่มโปรแกรมสัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 5 วันสุดท้ายของรังสีรักษาวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนาทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม

ผลการวิจัย: ภายหลังได้รับโปรแกรมให้ความรู้และประคับประคองจิตใจโดยมุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ 5 สัปดาห์ พบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนคุณภาพชีวิตกลุ่มทดลอง (M = 150.33, SD = 4.89) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (M = 130.84, SD = 5.78) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 168.86, df = 1, p < . 05)

สรุป และข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาชี้แนะว่าโปรแกรมให้ความรู้และประคับประคองจิตใจมุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพมีประสิทธิผลต่อการเพิ่มคุณภาพชีวิต พยาบาลควรมุ่งให้ความสนใจนำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้เพื่อส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระหว่างการรักษา ทั้งนี้ควรมีการศึกษาต่อโดยติดตามผลในระยะยาว

คำสำคัญ: โปรแกรมให้ความรู้และประคับประคองจิตใจ การสร้างเสริมสุขภาพ คุณภาพชีวิต มะเร็งปากมดลูก รังสีรักษา

Article Details

How to Cite
Jodjum, C., Pongthavornkamol, K., & Kusuma Na Ayuthaya, S. (2016). The Effect of Psycho-Education Program on Quality of Life in Women with Cervical Cancer Undergoing Radiation Therapy. Nursing Science Journal of Thailand, 34(2), 143–155. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/77377
Section
Research Papers