Journal Information
Publication Ethics
จริยธรรมในการตีพิมพ์วารสารรังสีเทคนิค (Publishing Ethics) [PDF]
บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)
- ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
- ผู้นิพนธ์ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
- ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่นอย่างถูกต้องหากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้หรือกล่าวถึงในงานวิจัยของตนเอง และจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
- ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความวิจัยให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน "คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์"
- ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัยจริง
- ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยของบทความนั้นๆ (ถ้ามี)
- ผู้นิพนธ์ต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)
- ในกรณีที่มีการทำวิจัยในผู้ป่วย อาสาสมัคร สัตว์ทดลอง หรือมีการใช้ข้อมูลของผู้ป่วย ผู้นิพนธ์ต้องระบุไว้อย่างชัดเจนในบทความว่างานวิจัยนี้ได้ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรม (Institutional review board: IRB) ของโรงพยาบาลหรือสถาบันแห่งนั้น โดยเป็นไปตามหลักจริยธรรมในการทำวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ทดลอง
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ (Duties of Editors)
- พิจารณาคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ตนรับผิดชอบ
- บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความ แก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ เนื่องด้วยกระบวนการพิจารณาบทความของวารสารรังสีเทคนิคเป็นแบบปกปิดเป็นความความลับ (Double-blind)
- บรรณาธิการต้องตัดสินใจคัดเลือกบทความมาตีพิมพ์หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจากความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับขอบเขตงานวิจัยของวารสารเป็นสำคัญ
- บรรณาธิการต้องไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว
- บรรณาธิการต้องไม่ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความเพราะความสงสัยหรือไม่แน่ใจ โดยต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ข้อสงสัยนั้นๆ ก่อน
- บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflicts of Interest) กับผู้นิพนธ์หรือผู้ประเมินบทความ หากพบว่าบรรณาธิการมีผลประโยชน์ทับซ้อนในกระบวนการพิจารณาบทความ บรรณาธิการจะต้องถอนตัวจากบทความนั้น และมอบหมายให้บรรณาธิการอื่นเป็นผู้ดูแลแทน
- บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างจริงจังโดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ เพื่อให้แน่ใจว่าบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น
- หากตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นในกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้รับผิดชอบบทความ (Corresponding author) ทันทีเพื่อขอคำชี้แจง เพื่อประกอบการ "ตอบรับ" หรือ "ปฏิเสธ" การตีพิมพ์บทความนั้นๆ
- ในกรณีที่มีการตรวจสอบพบว่ามีการคัดลอกผลงานผู้อื่นหรือบทความนั้นเคยตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อน ภายหลังจากที่บทความได้รับการเผยแพร่แล้ว บรรณาธิการจะต้องถอดบทความนั้นออกจากวารสารโดยทันที
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)
- ผู้ประเมินบทความ ต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ (Confidentiality)
- หลังจากได้รับบทความจากบรรณาธิการวารสาร และผู้ประเมินบทความตระหนักว่าตัวเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ
- ผู้ประเมินบทความ ควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่จะมีต่อสาขาวิชานั้นๆ คุณภาพของการวิเคราะห์ และความเข้มข้นของผลงาน ไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความวิจัย และส่งผลการประเมินบทความคืนให้แก่บรรณาธิการภายในระยะเวลาที่เหมาะสมหรือตามกำหนด
- ผู้ประเมินบทความต้องระบุผลงานวิจัยที่สำคัญๆ และสอดคล้องกับบทความที่กำลังประเมิน แต่ผู้นิพนธ์ไม่ได้อ้างถึงเข้าไปในการประเมินบทความด้วย นอกจากนี้ หากมีส่วนใดของบทความ ที่มีความเหมือน หรือ ซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบด้วย