การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

คำแนะนำผู้แต่ง

คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์

      กองบรรณาธิการวารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ ขอเรียนเชิญผู้สนใจส่งผลงานวิจัยและบทความวิชาการทางด้านสาธารณสุข และวิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่ในวารสาร โดยกองบรรณาธิการมีเงื่อนไขในการพิจารณาผลงานและคำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ ดังนี้

เงื่อนไขในการพิจารณาผลงาน

  1. ผลงานวิจัยที่ส่งตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน หรือไม่อยุ่ในระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น
  2. กองบรรณาธิการจะพิจารณาต้นฉบับที่จัดทำตามคำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับนี้เท่านั้น
  3. ผลงานวิจัยที่จะลงตีพิมพ์จะต้องได้รับการรับรองจริยธรรมการทำวิจัยในมนุษย์จากหน่วยงานที่เก็บข้อมูล มหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยต้องแสดงหลักฐานและหมายเลขใบรับรอง
  4. ผลงานทุกเรื่องจะได้รับการพิจารณาตรวจอ่านโดยผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 คน/เรื่อง โดยผู้เขียนจะต้องดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอแนะภายในระยะเวลาที่กำหนด หากพ้นกำหนดจะถูกเลื่อนไปฉบับถัดไป
  5. ผู้เขียนต้องตรวจสอบการเขียน Abstract ให้สอดคล้องกับบทคัดย่อ และถูกหลักภาษาอังกฤษ หรือสามารถแจ้งความประสงค์ให้ทางวารสารจัดหา editor ให้
  6. กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบผลการพิจารณา เพื่อตรวจทานและแก้ไขต้นฉบับให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยขอให้ผู้เขียนส่งผลงานที่แก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด
  7. กรณีบทความวิจัย ใบรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ไม่เกิน 3 ปี

คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ

  1. ต้นฉบับต้องพิมพ์โดยใช้โปรแกรม Microsoft Word ใช้อักษร Angsana New ขนาดตัวอักษร 16 ห่างจากขอบกระดาษ ทุกด้าน 1 นิ้ว หรือ 2.54 เซนติเมตร เว้นบรรทัดใช้ระยะ Single space พิมพ์เลขหน้ากำกับทุกแผ่นด้านล่างของหน้ากระดาษ
  2. พิมพ์บนกระดาษขนาด A4 ความยาวไม่เกิน 15 หน้า ตั้งแต่ บทคัดย่อ จนถึง เอกสารอ้างอิง
  3. ชื่อตาราง แผนภูมิ รูปภาพ ให้ใส่ชื่อตาราง หรือคำอธิบายเพิ่มเติมเหนือตาราง
  4. การเขียนบทความภาษาไทยให้ยึดหลักของราชบัณฑิตยสถาน ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำภาษาอังกฤษยกเว้นกรณีจำเป็น และหลีกเลี่ยงการใช้คำย่อที่ไม่เป็นสากล
  5. ส่งต้นฉบับจำนวน 1 ชุด ระบุชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ และ E-mail address ได้ทางระบบออนไลน์ สามารถเข้าไปดูรายละเอียด คู่มือการใช้งานเว็บไซต์ได้ที่ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MDHJ
  6. การส่งต้นฉบับลงในวารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ

ฉบับที่ 1 ภายในวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี

ฉบับที่ 2 ภายในวันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี

หากพ้นกำหนดในระยะเวลาดังกล่าว ต้นฉบับจะเลื่อนการพิจารณาลงในฉบับต่อไป

  1. การรับเรื่องต้นฉบับ
    • เรื่องที่รับไว้ กองบรรณาธิการจะแจ้ง ตอบรับให้ผู้เขียนทราบ และขอเอกสารเพิ่มเติมผ่านทางอีเมลและระบบ Thaijo
    • เรื่องที่ไม่ได้รับพิจารณาจัดพิมพ์ กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ทราบผ่านทางระบบ Thaijo

รูปแบบของบทความให้เรียงลำดับดังนี้

บทความวิจัย (Research article) เป็นบทความวิจัยที่เป็นผลงานที่ทำขึ้นใหม่ มีลำดับหัวข้อดังนี้

  1. บทคัดย่อภาษาไทย เขียนตามรูปแบบดังนี้
    • ชื่อเรื่องภาษาไทย กลางหน้ากระดาษ ใช้อักษร Angsana New ตัวหนา ขนาดตัวอักษร 18 pt.
    • ชื่อ นามสกุลภาษาไทย ของผู้แต่งทุกคน กลางหน้ากระดาษ ใช้อักษร Angsana New ขนาดตัวอักษร 16
    • เนื้อหาบทคัดย่อ จำนวนไม่เกิน 350 คำ กรณีเป็นบทคัดย่อผลงานวิจัยให้เรียงลำดับเนื้อหาดังนี้
      • บทนำ เขียนโดยย่อ
      • วัตถุประสงค์การวิจัย
      • วิธีการวิจัย: แบบวิจัย กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ วิธีการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้
      • ผลการวิจัย
      • สรุปผลการวิจัย
      • คำสำคัญ (Keywords) ภาษาไทย ไม่เกิน 5 คำ
    • ต่อจากคำสำคัญ ใส่ สถานที่ทำงานของผู้เขียนทุกคน และผู้เขียนที่เป็นผู้ติดต่อ (Corresponding author) ใส่ E-mail address ต่อท้ายด้วย
  2. บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) เขียนตามรูปแบบดังนี้
    • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ กลางหน้ากระดาษ ใช้อักษร Angsana New ตัวหนา ขนาดตัวอักษร 18 pt.
    • ชื่อ นามสกุล ภาษาอังกฤษของผู้เขียนทุกคน กลางหน้ากระดาษ ใช้อักษร Angsana New ขนาดตัวอักษร 16 pt.
    • เนื้อหาบทคัดย่อภาษาอังกฤษ จำนวนไม่เกิน 350 คำ เนื้อหาต้องสอดคล้องกับบทคัดย่อภาษาไทย
    • กรณีเป็นบทคัดย่อผลงานวิจัยให้เรียงลำดับเนื้อหา ดังนี้
      • Background
      • Objectives
      • Methods: design, samples, tools, data collection and data analysis
      • Results
      • Conclusions
      • Keywords ภาษาอังกฤษไม่เกิน 5 คำ
    • ต่อจาก Keywords ใส่ สถานที่ทำงานของผู้เขียนทุกคนเป็นภาษาอังกฤษ และ ผู้เขียนที่เป็นผู้ติดต่อ (Corresponding author) ใส่ E-mail address ต่อท้ายด้วย
  3. เนื้อหา (Main document) ประกอบด้วย หัวข้อดังนี้
    • บทนำ กล่าวถึงความสำคัญของปัญหาโดยย่อ และวัตถุประสงค์การวิจัย
    • วิธีดำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ข้อพิจารณาด้านจริยธรรม
    • วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
    • การวิเคราะห์ข้อมูล
    • ผลการวิจัย เสนอผลการวิจัยอย่างชัดเจน สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ถ้าเป็นข้อมูลเชิงปริมาณที่มีตัวเลขหรือตัวแปรจำนวนมาก ควรนำเสนอด้วยตาราง หรือ รูปภาพ ทั้งนี้ไม่ควรเกิน 3 ตารางหรือรูป โดยมีการแปลความหมายและวิเคราะห์ผลที่ค้นพบร่วมด้วย
    • อภิปรายผล
    • สรุปและข้อเสนอแนะ (โดยแยกการเขียนประเด็นสรุป และข้อเสนอแนะ)
    • กิตติกรรมประกาศ และการเปิดเผยการได้รับผลประโยชน์ต่างๆ ของผู้เขียน (Conflict of interest) (ถ้ามี) เช่น การได้รับทุน ค่าตอบแทน เงินเดือน ฯลฯ จากหน่วยงานใด ๆ นอกเหนือจากงานประจำ
    • เอกสารอ้างอิง ใช้ระบบการอ้างอิงแบบ Vancouver และให้มีรายการอ้างอิงได้ไม่เกิน 25 รายการ ยกเว้น การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic review, meta-analysis)

บทความวิชาการ (Academic article)

  1. บทคัดย่อภาษาไทย เขียนตามรูปแบบดังนี้
    • ชื่อเรื่องภาษาไทย กลางหน้ากระดาษ ใช้อักษร Angsana New ตัวหนา ขนาดตัวอักษร 20 pt.
    • ชื่อ นามสกุลภาษาไทย ของผู้แต่งทุกคน กลางหน้ากระดาษ ใช้อักษร Angsana New ขนาดตัวอักษร 16
    • เนื้อหาบทคัดย่อ จำนวนไม่เกิน 300 คำ
    • โดยบทคัดย่อประกอบด้วยเนื้อหา คือ เกริ่นนำ สิ่งที่ทำ สรุปผลสำคัญที่ได้ และเห็นภาพรวมทั้งหมดของงาน
    • คำสำคัญ (Keywords) ภาษาไทยไม่เกิน 5 คำ
    • ต่อจากคำสำคัญ ใส่ สถานที่ทำงานของผู้เขียนทุกคน และผู้เขียนที่เป็นผู้ติดต่อ (Corresponding author) ใส่ E-mail address ต่อท้ายด้วย
  2. บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) เขียนตามรูปแบบดังนี้
    • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ กลางหน้ากระดาษ ใช้อักษร Angsana New ตัวหนา ขนาดตัวอักษร 20 pt.
    • ชื่อ นามสกุล ภาษาอังกฤษของผู้เขียนทุกคน กลางหน้ากระดาษ ใช้อักษร Angsana New ขนาดตัวอักษร 16 pt.
    • เนื้อหาบทคัดย่อภาษาอังกฤษ จำนวนไม่เกิน 300 คำ เนื้อหาต้องสอดคล้องกับบทคัดย่อภาษาไทย
    • Keywords ภาษาอังกฤษไม่เกิน 5 คำ
    • ให้ใส่ ตำแหน่ง สถานที่ทำงานของผู้เขียนทุกคนเป็นภาษาอังกฤษ รวมทั้งชื่อ นามสกุลภาษาอังกฤษของผู้เขียนที่เป็นผู้ติดต่อ (Corresponding author) พร้อม E-mail address ต่อจาก Keywords
  3. เนื้อหา (Main document) ประกอบด้วย หัวข้อดังนี้
    • บทนำ กล่าวถึงความสำคัญของปัญหาโดยย่อ วัตถุประสงค์ ขอบเขตของเรื่อง และคำจำกัดความหรือนิยาม
    • เนื้อเรื่อง (การจัดลำดับเนื้อหาสาระ การเรียบเรียงเนื้อหา การวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์)
    • สรุป
    • กิตติกรรมประกาศ และการเปิดเผยการได้รับผลประโยชน์ต่างๆ ของผู้เขียน (Conflict of interest) (ถ้ามี) เช่น การได้รับทุน ค่าตอบแทน เงินเดือน ฯลฯ จากหน่วยงานใด ๆ นอกเหนือจากงานประจำ
    • เอกสารอ้างอิง ใช้ระบบการอ้างอิงแบบ Vancouver และให้มีรายการอ้างอิงได้ไม่เกิน 30 รายการ

 

 

นโยบายส่วนบุคคล

The names and email addresses entered in this journal site will be used exclusively for the stated purposes of this journal and will not be made available for any other purpose or to any other party.