Home ThaiJO
จริยธรรมการตีพิมพ์
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการ
- พิจารณา คัดกรอง ตรวจสอบ บทความที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ให้ตรงตามสาขาของวารสารด้วยหลักการทางวิชาการหรือตามระเบียบวิธีวิจัย
- เสนอแนะ ให้ปรับแก้บทความแก่ผู้นิพนธ์ก่อนส่งผู้ประเมินบทความ (Peer review)
- พิจารณาคัดเลือกผู้ประเมินบทความอย่างน้อย 2 ท่านที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของเนื้อหาในบทความ
- ตรวจสอบและดำเนินการแก้ไขให้ตรงตามคำแนะนำของผู้พิจารณาบทความ
- พิจารณา ตัดสิน กรณีคำแนะนำของผู้ประเมินบทความมีความเห็นไม่ตรงกัน ตลอดจนบทความที่ไม่ได้แก้ไขตามคำแนะนำของผู้พิจารณาบทความ
- แก้ไขและให้คำแนะนำข้อผิดพลาด การเขียนบทความเพื่อทำให้เกิดความกระจ่าง
- สร้างมาตรฐานของวารสารให้มีคุณภาพทุกขั้นตอนจนถึงขั้นตอนการเผยแพร่
- เก็บรักษาความลับของข้อมูล เอกสาร บทความของผู้นิพนธ์ ผู้พิจารณาบทความ และเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
- การรับบทความเพื่อตีพิมพ์ บทความจะต้องได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์จากผู้พิจารณาบทความอย่างน้อย 2 ท่าน
- เผยแพร่บทความที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานให้แก่ผู้อ่านอย่างต่อเนื่องตรงเวลา
- แจ้งผลพิจารณา คัดกรอง ตรวจสอบ บทความที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ด้วยหลักการทางวิชาการหรือตามระเบียบวิธีวิจัย ให้แก่ผู้นิพนธ์ทราบ
- แจ้งผลการพิจารณา ตัดสิน กรณีคำแนะนำของผู้พิจารณาบทความมีความเห็นไม่ตรงกันให้แก่ผู้นิพนธ์ทราบ
- แจ้งผลการตัดสินของบรรณาธิการต่อการยอมรับหรือปฏิเสธบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ ภายใต้ความถูกต้องตามหลักวิชาการ ความสำคัญ ความใหม่ และความชัดเจนของบทความวิจัย ตลอดจนความเกี่ยวข้องกับขอบเขตของวารสาร
- รับฟังข้อเสนอแนะจากผู้นิพนธ์ กรณีมีการอุทธรณ์ได้หากผู้นิพนธ์มีความคิดเห็นแตกต่างจากการตัดสินใจของบรรณาธิการ
- พิจารณาผู้พิจารณาบทความที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความอย่างเป็นธรรมและส่งบทความให้ผู้พิจารณาบทความโดยผู้พิจารณาบทความจะไม่ทราบชื่อผู้แต่งและผู้นิพนธ์จะไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double-blind)
- จัดพิมพ์คำแนะนำการเขียน รูปแบบ ระเบียบการส่งบทความ ขั้นตอนการส่งบทความ แก่ผู้พิจารณาบทความผ่านเว็ปไซต์วารสาร
- ให้คำแนะนำ ประสานระหว่างผู้นิพนธ์กับผู้พิจารณาบทความ กรณีมีข้อขัดแย้งทางวิชาการและข้อคิดเห็น
บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์
- ส่งบทความตามรูปแบบที่วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพกำหนด
- แก้ไขบทความตามคำแนะนำของบรรณาธิการและผู้พิจารณาบทความอย่างเคร่งครัด กรณีไม่แก้ไขในประเด็นที่เสนอแนะผู้นิพนธ์สามารถชี้แจงเหตุผลมายังวารสารได้
- บทความของผู้นิพนธ์จะถูกตรวจสอบความซ้ำซ้อนของเนื้อหา (Plagiarism) จากระบบ Thaijo ทั้งนี้หากร้อยละของความซ้ำซ้อนคัดลอกเกินร้อยละ 20 ผู้นิพนธ์จะต้องชี้แจงและแก้ไข
- ผู้นิพนธ์จะต้องส่ง แก้ไขบทแก้ไขบทความผ่านระบบ Thaijo และส่งตรงตามเวลากำหนด
- ผู้นิพนธ์จะต้องตรวจสอบบทความก่อนขึ้นระบบ Thaijo ทั้งนี้หากมีประเด็นผิดพลาดทางวารสารจะไม่ดำเนินการแก้ไขบทคความที่ขึ้นระบบ Thaijo แล้ว
- บทความวิจัยจะต้องผ่านขั้นตอนจริยธรรมวิจัยหรือการพิทักษ์สิทธิจากหน่วยงาน
- ผู้นิพนธ์จะต้องสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ทันสมัย น่าเชื่อถือ
- ผู้นิพนธ์จะต้องไม่ส่งบทความไปยังวารสารอื่น ๆ ในขณะที่รอพิจารณาตีพิมพ์
- ผู้นิพนธ์จะต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนเอง
บทบาทหน้าที่ของผู้พิจารณาบทความ
- ผู้พิจารณาบทความจะต้องประเมินบทความผ่านระบบ Thaijo
- ผู้พิจารณาบทความทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของบทความตามระเบียบวิธีการวิจัย หลักวิชาการเป็นสำคัญ ส่วนรูปแบบการตีพิมพ์และการพิสูจน์อักษรถือเป็นประเด็นรอง
- ผู้พิจารณาบทความจะไม่แสดงตนเองกับผู้นิพนธ์โดยยึดหลัก Double-blind
- ผู้พิจารณาบทความจะไม่เรียกร้องผลประโยชน์จากผู้นิพนธ์
- ผู้พิจารณาบทความต้องประเมินบทความด้วยความยุติธรรมยึดหลักทางวิชาการเป็นสำคัญ
- ผู้พิจารณาบทความต้องไม่ประสานงานหรือติดต่อผู้นิพนธ์โดยตรง ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องปรึกษากับ ผู้นิพนธ์จะต้องให้บรรณาธิการเป็นผู้ประสาน
- ผลการพิจารณาบทความถือเป็นสิทธิ์ขาดของบรรณาธิการวารสาร