วาสลีนกอซขมิ้นชันรักษาบาดแผลถลอก

ผู้แต่ง

  • ธนวัฒน์ งามศรี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังท่าช้าง

คำสำคัญ:

ขมิ้นชัน; แผลถลอก;กอซขมิ้นชัน

บทคัดย่อ

จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนทั่วประเทศ ปี พ.ศ.๒๕๕๔–พ.ศ.๒๕๕๘ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากจำนวน ๖๘,๒๖๙ คน เป็น ๖๑,๑๙๗ คน, ๖๑,๒๔๖ คน, ๖๖,๑๘๒ คน และ ๗๑,๐๕๔ คน ตามลำดับ จากการปฏิบัติงานของผู้วิจัย ที่ปฏิบัติงาน ในรพ.สต.พบว่า ผู้มารับบริการล้างแผลที่รพ.สต.ส่วนใหญ่เป็นบาดแผลที่เกิดจากอุบัติเหตุทางถนน รพ.สต.วังท่าช้าง พบบาดแผลถลอก ร้อยละ ๑๘ ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษา“การรักษาบาดแผลถลอกโดยใช้วาสลีนกอซขมิ้นชัน วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการหายของบาดแผลสดโดยใช้วาสลีนกอซขมิ้นชัน
วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ผู้มารับบริการ การรักษาบาดแผล ในช่วงเดือน มกราคม ๒๕๕๘ ถึง มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๑ โดยได้กลุ่มทดลอง จำนวน ๘๙ คน และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน ๘๙ คน โดยใช้วาสลีนกอซขมิ้นชัน เครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมินการหายของบาดแผลคือ PUSH
ผลการศึกษา การประเมินการหายของบาดแผลของผู้รับบริการที่ใช้วาสลีนกอซขมิ้นชันทั้ง ๘๙ ราย เทียบกับกลุ่มที่ไม่ใช้วาสลีนกอซขมิ้นชันทั้ง ๘๙ ราย ผู้ที่ไม่ใช้วาสลีนกอซขมิ้นชันแผลจะหายช้ากว่ากลุ่มที่ใช้วาสลีนกอซขมิ้นชัน
อภิปราย สรุป และข้อเสนอแนะ จากผลการศึกษาวาสลีนกอซขมิ้นชัน สามารถใส่บาดแผลสดได้และมีผลทำให้บาดแผลแห้ง มีขนาด เล็กลง จนแผลหายสนิท ซึ่งสอดคล้องกับ สรรพคุณของขมิ้นขัน ที่ช่วยสมานแผล ข้อเสนอแนะ ควรสนับสนุนให้มีการใช้วาสลืนกอซขมิ้นชัน ในสถานบริการสาธารณสุข

References

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี .(๒๕๕๓).”สมุนไพร.”(ออนไลน์). สืบค้นจาก
http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=34 [๑๐ มีนาคม ๒๕๖๐]
จินดาพร คงเดช. ๒๕๕๑. การผลิตสารยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส และสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชเพื่อใช้
ในการผลิตเครื่องสำอาง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
บรรจง วงศ์บุญและ คณะโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่อิง .(๒๕๕๔).”การศึกษาวิจัย
การใช้ขมิ้นก๊อสในการรักษาแผลเรื้อรังของ รพ.สต. แม่อิง.”(ออนไลน์). สืบค้นจาก
https://docs.google.com/viewer?a=v&pid=sites&srcid=ZGVmYXVsdGRvbWFpbnx4ZWtzYXJ3aWNheXxneDo3ZjlmOGZkZmNkZThmMzQz [๑๐ มีนาคม ๒๕๖๐]
ศูนย์การเรียนรู้สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ ฝ่ายสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลวชิรภูเก็ต
กระทรวงสาธารณสุข.(๒๕๕๒).”โพวิโดน-ไอโอดีน.”(ออนไลน์). สืบค้นจาก
http://www.vachiraphuket.go.th/www/public- health/?name=knowledge&file=readknowledge&id=248 [๑๐ มีนาคม ๒๕๖๐]
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดปราจีนบุรี.(๒๕๖๐).”จ.ปราจีนบุรี เปิดศูนย์ปฏิบัติการร่วมป้องกันและ
ลดอุบัติเหตุทางถนน.”(ออนไลน์). สืบค้นจากhttp://thainews.prd.go.th/website_th/news/print_news/TNSOC6004100010030 [๑๐ มีนาคม ๒๕๖๐]
Bunthid Kitchanapanich, Chaweewan Prucksunand.๒๕๒๙.”เปรียบเทียบการรักษาโรคแผลเปื่อย
ในช่องปาก (แผลร้อนใน) โดยใช้สมุนไพรขมิ้นชันผสมในออร่าเบส กับการใช้ออร่าเบสเป็นกลุ่มควบคุม (การวิจัยทางคลินิก ระยะที่ ๓).”วารสารแพทย์นาวี ๘ (๓ ก.ย.- ธ.ค.):๑๓๙-๑๕๑
Medthai .(๒๕๖๐).”การบูร สรรพคุณและประโยชน์ของการบูร ๓๔ ข้อ.”(ออนไลน์). สืบค้นจาก
https://medthai.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A3/ [๑๐ มีนาคม ๒๕๖๐]
Megaladys. (๒๕๖๐).”สะระแหน่ คุณสมบัติที่มีประโยชน์และการใช้งาน.”(ออนไลน์)
สืบค้นจาก http://www.megaladys.com/th/4360-perechnaya-myata-poleznye-svoystva-i-ih-primenenie.html [๑๐ มีนาคม ๒๕๖๐]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-05-2019