สภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ปิ่นทอง ประสงค์สุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

สภาวะสุขภาพจิต, นักศึกษาทันตสาธารณสุข, GHQ-30

บทคัดย่อ

วิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะสุขภาพจิต และความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักศึกษาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี โดยเก็บข้อมูลในนักศึกษาทันตสาธารณสุขจำนวน 159 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามส่วนบุคคล และแบบประเมินสุขภาพทั่วไป ฉบับภาษาไทย ชนิด 30 ข้อคำถาม (Thai GHQ-30) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ และสถิติไคสแควร์ (Chi-Square) ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาทันตสาธารณสุขมีปัญหาสุขภาพจิตจำนวน 71 คน คิดเป็นร้อยละ 44.7 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพจิต คือชั้นปีที่กำลังศึกษา โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากการศึกษานี้วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรีควรนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตของนักศึกษาทันตสาธารณสุข

 

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2559). องค์ความรู้สุขภาพจิต สำหรับประชาชน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
จตุพร อาญาเมือง, ปิยรัตน์ จิตรภักดี, สุภาวัลย์ จาริยศิลป์, ทัศนันท์ ทุมมานนท์, และดำรงค์ศักดิ์ สอนแจ้ง. (2556). สภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาสาธารณสุขชุมชน ชลบุรี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 43 (2), 188-200.
ฉันทนา แรงสิงห์, และสถิตย์ วงศ์สุรประกิต. (2557). ปัจจัยทางสุขภาพจิตที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียน. พยาบาลสาร, 41 (1), 123-132.
ณัฐวุฒิ อรินทร์. (2558). สภาวะปัญหาสุขภาพจิต และทัศนคติ ต่อการรับความช่วยเหลือทางด้านจิตใจจากนักวิชาชีพสุขภาพจิตของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วารสารจิตวิทยาคลินิก, 46 (1), 16-29.
ณัฐวุธ แก้วสุทธา, ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน, และวิกุล วิสาลเสสถ์. (2557). ภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่สัมพันธ์ในนิสิตทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 6 (11), 16-24.
ธนา นิลชัยโกวิทย์, จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง, และชัชวาลย์ ศิลปกิจ. (2539). ความเชื่อถือได้และความแม่นตรงของ General Health Questionnaire ฉบับภาษาไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 41 (1), 2-17.
พัชญา คชศิริพงศ์ และดวงใจ ดวงฤทธิ์. (2561). ภาวะสุขภาพจิตกับความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 26 (2), 117-128.
วรัชฌา คุณาดิศร, และจารุรินทร์ ปิตานุพงศ์. (2553). ภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่สัมพันธ์ในนักศึกษาแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร, 28 (3), 139-144.
อิสรา จุมมาลี. (2552). ภาวะสุขภาพจิตของนิสิตเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 4 (3), 365-369.
Bjorksten, O., Sutherland, S., Miller, C., & Stewart, T. (1983). Identification of medical student problems and comparison with those of other students. Academic Medicine, 58 (10), 759-67.
Bruffaerts, R., et al. (2017). Mental health problems in college freshmen: Prevalence and academic functioning. Journal of Affective Disorders, 225, 97–103.
Goldberg, D. P., (1972). The detection of psychiatric illness by questionnaire; a technique for the identification and assessment of non-psychotic psychiatric illness. London, New York: Oxford University Press.
Gorter, R., Freeman, R., Hammen, S., Murtomaa, H., Blinkhorn, A., and Humphris, G. (2008). Psychological stress and health in undergraduate dental students: fifth year outcomes compared with first year baseline results from five European dental schools. European Journal of Dental Education, 12 (2), 61-68.
Loan, B. T., Hengudomsub P., and Chaimongkol N. (2015). Factors related to mental health among Vietnamease Nursing Students. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal, 10 (4), 173-183.
World Health Organization. (2004). Promoting mental health: concepts, emerging evidence, practice (Summary Report). Geneva: World Health Organization.
World Health Organization. (2018, September 26). Mental Health Atlas 2017. Retrieved from: http://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/272735/9789241514019-eng.pdf?ua=1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-05-2019