ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • คุณัสปกรณ์ มัคคัปผลานนท์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วรพนิต ศุกระแพทย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จิราภรณ์ เพียรประสิทธ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ปุณฑรี พิกุลณี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยใช้แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพ ของเพนเดอร์เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุจำนวน 200 ราย ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และเป็นสมาชิกในโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองบ้านสวน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามดัชนีชี้วัดสุขภาพคนไทยฉบับสั้น และแบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมของอยู่ในระดับมาก โดยความเพียงพอของรายได้ และภาวะสุขภาพจิต มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับต่ำ (r = .16, p < .05) และปานกลาง (r = .45, p < .01) กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและสามารถทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้ส้งอายุ เทศบาลเมืองบ้านสวน ทั้งนี้ อายุ เพศ สถานภาพสมรส ศาสนา ระดับการศึกษา อาชีพ ดัชนีมวลกาย และการมีโรคประจำตัว ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในโรงเรี ยนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ข้อเสนอแนะแก่ผู้เกี่ยวข้อง คือ ควรนำปัจจัยที่ค้นพบจากการศึกษานี้ โดยเฉพาะด้านความพอเพียงของรายได้และภาวะสุขภาพจิตไปใช้ประกอบการส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพในผู้สูงอายุ

References

Eliopoulos C. Gerontological Nursing. 8th ed. Philladelphia: J.B. Lippincott; 2014.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. คู่มือโรงเรียนผู้สูงอายุ. กรุงเทพ: กรมกิจการผู้สูงอายุ; 2559.

Pender NJ, Murdaugh CL, Parson MA. Health Promotion in Nursing Practice. 4th ed. New Jersey: Prentia Hall; 2002.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการวิจยั การพฒั นาและทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย. กรุงเทพ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2552.

Walker SN, Hill-Polerecky DM. Psychometric evaluation of the Health-Promoting Lifestyle Profile II. Nebraska: University of Nebraska Medical Center; 1996.

Pender NJ. Health promotion in Nursing Paractice. 2nd ed. Stamford: Appleton & Lange; 1987.

อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์ และนันทวรรณ สุวรรณรูป. การวิเคราะห์ความตรงและความเชื่อมั่นของแบบวัดวิถีการดำเนินชีวิตเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ-II ฉบับภาษาไทย. วารสารสภาการพยาบาล. 2547; 19(4): 44-63.

วิรดา อรรถเมธากุล และวรรณี ศรีวิลัย. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2556; 7(2): 18-28.

กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุไทย: กรณีผู้สูงอายุวัยกลางในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2559; 28(3): 68-83.

นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์ และศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2559; 11(1): 63-74.

Pender NJ, Murdaugh CL,Parsons MA. Health promotion in nursing practice. 6th ed. New Jersey: Pearson Education; 2011.

Jackson PB. Perceived health status, self-efficacy, and practice of health promoting behaviors in rural Mississippi African American males with hypertension. Louisiana: Southern University and Agricultural and Mechanical College; 2011.

Larouche R. Determinants of college students’ health-pr omoting lifestyles. Clinical Excellence Nurse Practitioners. 1998; 2(1): 35-44.

Hong JF, Sermsri S, Keiwkarnka B. Health promoting lifestyles of nursing students in Mahidol university. Journal of public health and development. 2007; 5(1): 27-40.

สุดกัญญา ปานเจริญ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของสตรีวัยหมดประจำเดือนที่มาใช้บริการในคลินิกสตรีวัยหมดประจำเดือนโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสภาการพยาบาล. 2554; 24(2): 78-87.

ปวิตรา จริยสกุลวงศ์, วิชชุดา เจริญกิจการ, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, ศรินรัตน์ ศรีประสงค์ และวีรนุช รอบสันติสุข. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2558; 7(3): 26-36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-05-2022 — Updated on 11-05-2022