ผลของการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มต่อความสุขของผู้สูงอายุในชุมชน

ผู้แต่ง

  • วรวุฒิ ชมภูพาน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วรางคณา ชมภูพาน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ความสุข, ผู้สูงอายุ, กิจกรรมทางกาย

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้กิจกรรมกลุ่มในการสร้างความสุขสำหรับผู้สูงอายุ ประชากรคือผู้สูงอายุ 72 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 36 ราย กลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมทางกาย โดยการออกกำลังกายสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ทุกวันจันทร์ ถึงศุกร์ ในตอนเย็น เวลาประมาณ 18.00 น  และกิจกรรมทางสังคม โดยการร้องเพลงร่วมกัน กิจกรรมสันทนาการสำหรับผู้สูงวัย และการรับประทานอาหารร่วมกัน เก็บข้อมูลความสุข การทรงตัว และคุณภาพชีวิตที่สัมพันธ์กับสุขภาพของผู้สูงอายุ ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นเวลา 2 เดือน วิเคราะห์ผลการศึกษาด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วย ANCOVA
ผลการศึกษาพบว่าภายหลังจากการทดลอง 2 เดือน ผู้สูงอายุกลุ่มทดลอง มีความสุขที่เพิ่มขึ้น  แตกต่างจากกลุ่มควบคุม 1.41 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และพบว่าผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีการทรงตัวที่ดีขึ้น ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มควบคุม 1.54 คะแนน (p<0.001) นอกจากนี้ยังพบว่าคะแนนคุณภาพชีวิตที่สัมพันธ์กับสุขภาพในกลุ่มทดลองสูงขึ้น 7.98 คะแนน ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกลุ่มควบคุม (p<0.001) ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมทางกายและกิจกรรมทางสังคมในการศึกษานี้สามารถเพิ่มความสุขของผู้สูงอายุ และช่วยให้ผู้สูงอายุมีการทรงตัวและคุณภาพชีวิตที่สัมพันธ์กับสุขภาพที่ดีขึ้นได้

References

United Nation. Current status of the social situation, wellbeing, participation in development and rights of older persons worldwide. New York: United Nations; 2011.

World Health Organization. World healthstatistics 2012. Geneva: World Health Organization; 2012.

National Statistical Office. The 2007 survey of the older persons in Thailand. Bangkok: National Statistical Office; 2008. [in Thai]

Shryock HS. The Methods and Materials of Demography. New York: Academic Press; 2004.

Beard JR, Biggs S, Bloom DE, Fried LP, Hogan P, Kalache A, Olshansky SJ (eds.). Global Population Ageing: Peril or Promise.Geneva: World Economic Forum; 2011

Wibulpolprasert S. (editor). Thailand Health Profile 2008-2010. Bangkok: Strategy and Planning Division, Ministry of Public Health; 2011. [in Thai]

Thongcharoen V. (editor).Art and Science for Gerontology Caring.Bangkok: Textbook Project for Faculty of Nursing, Mahidol University; 2011. [in Thai]

National Statistical Office.The 2014 Survey of the Older Persons in Thailand. Bangkok: Text and Journal Publication Co. Ltd.; 2014. [in Thai]

Bernard R. Fundamentals of Biostatistics (5th ed.). California: Doxbery; 2000.

KingAC. Clinical and community interventions to promote and support physical activity participation. In Dishman RK. (ed.) Advances in Exercise Adherence (pp.182-212). Illinois: Human Kinetics Publishers; 1994.

Arai T, Obuchi S, Inaba Y, Shiba Y,Satake K. The relationship between physical condition and change in balance functions on exercise intervention and 12-month follow-up in Japanese community-dwelling older people. Archives of Gerontology Geriatrics. 2009; 48(1):61-66.

Brown M, Sinacore DR, Ehsani AA, Binder EF, Holloszy JO,Kohrt WM. Low-intensity exercise as a modifier of physical frailty in older adults. Archives ofPhysical Medicine and Rehabilitation. 2000; 81(7): 960-965.

Sonstroem RJ, Harlow LL, Josephs L. Exercise and self-esteem: Validity of model expansion and exercise associations. Journal of Sport and Exercise Psychology. 1994; 16(1): 29-42.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-08-2021