ผลการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวทฤษฎีเกสตัลท์ต่อความสุข ของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ดารินทร์ พนาสันต์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

ความสุข /การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม / เกสตัลท์/ นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

                 

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวทฤษฎีเกสตัลท์ต่อความสุขของนักศึกษาพยาบาล  ประชากรคือนักศึกษาพยาบาลที่มีคะแนนความสุขต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่  25  จำนวน  16  คน  และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากเป็นรายบุคคลเพื่อคัดเลือกสมาชิกเข้ากลุ่มทดลองจำนวน 8 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 8 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ  แบบวัดความสุขและโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวทฤษฎีเกสตัลท์ต่อความสุขของนักศึกษาพยาบาล  การเก็บข้อมูลแบ่งออกเป็น  3  ระยะ  คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยวิธีการทดสอบแบบบอนเฟอร์โรนี่

                  ผลการวิจัยพบว่า  มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 นักศึกษาพยาบาลกลุ่มทดลองมีความสุขในระยะหลังการทดลอง  และระยะติดตามผลการทดลองสูงกว่านักศึกษาพยาบาลกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และนักศึกษาพยาบาลกลุ่มทดลองมีความสุขในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลการทดลองสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95

References

1. ปัทมา ทองสม. การพัฒนาดัชนีชี้ความสุขในการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร. การพยาบาลและการศึกษา 2554; 4: 88 - 111.
2. ธนพล บรรดาศักดิ์, กนกอร ชาวเวียง และนฤมล จันทรเกษม. ความสุขในการเรียนของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร 2560; 5: 357-369.
3. จิราภรณ์ สรรพวีรวงค์. ความสุขของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2559;34: 269-279.
4. Corey, G. Theory and Practice of Counseling and Psychotherapy. (9th ed.). Belmont,
CA: Brook/ Cole; 2013.
5. สุภาภรณ์ ทัศนอนันชัย. ผลการให้การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีเกสตัลท์ต่อ ความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลประจำการ [วิทยานิพนธ์วิทยา ศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2553.
6. วัชรี ทรัพย์มี. ทฤษฎีให้บริการปรึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
7. ณัชชา ชุนช่วยเจริญ และ วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์ . ศึกษาผลการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีเกสตัลท์ต่อการยับยั้งชั่งใจของ เยาวชนที่กระทำผิดซ้ำ. วารสารพยาบาลตำรวจ 2559; 8: 58-72.
8. Howell, D. C. Statistical methods for psychology. (6th ed.). Belmont, CA: Thomson
Wadsworth; 2007.

เผยแพร่แล้ว

25-06-2020