อัตราการติดโรคหนอนพยาธิในประชาชน และโฮสต์กึ่งกลางในสิ่งแวดล้อมพื้นที่ โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำ อ่างเก็บน้ำลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • วรยุทธ นาคอ้าย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

โรคหนอนพยาธิ อัตราการติดเชื้อ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ อ่างเก็บน้ำลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์

บทคัดย่อ

บทนำและวัตถุประสงค์

โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำ อ่างเก็บน้ำลำปาว เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำของกรมชลประทาน ซึ่งกรมควบคุมโรคโดยสำนักโรคติดต่อทั่วไป รับภารกิจในการติดตามเฝ้าระวังปัญหาการแพร่ระบาดของโรคหนอนพยาธิที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ก่อสร้างเขื่อน และอ่างเก็บน้ำ

วิธีการวิจัย

สำรวจพื้นที่ กำหนดจุดพิกัดพื้นที่ผลกระทบและพื้นที่รับประโยชน์ โดยคัดเลือกกลุ่มประชากร ตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างประชากรแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster sampling) ได้จำนวนประชากรตัวอย่างทั้งหมด (Minimal sample size) n = 384 ตัวอย่าง ตรวจหาไข่ และตัวอ่อนพยาธิในอุจจาระโดยวิธี Formalin Ether Concentration ตรวจสอบการติดเชื้อตัวอ่อนพยาธิใบไม้ในโฮสต์กึ่งกลาง ได้แก่ หอยน้ำจืด โดยวิธี Shedding และ Crushing และปลาน้ำจืดเกล็ดขาว โดยวิธีการ Crushing

ผลการวิจัย

พบติดพยาธิใบไม้ตับของคน 1.5% พยาธิปากขอ 2.5% พยาธิสตรองจิลอยดิส 3.3% พยาธิตืดหมู-วัว 5.0% พยาธิใบไม้ลำไส้ขนาดเล็ก 2.1% และพยาธิใบไม้ลำไส้ขนาดกลาง 0.4%  ตรวจพบหอยน้ำจืดติดเชื้อคิดเป็นอัตราการติดเชื้อ 1.26% พบปลาน้ำจืดเกล็ดขาวติด คิดเป็นอัตราการติดเชื้อ 35.82%

สรุปผล

จากการตรวจโรคหนอนพยาธิในประชาชนและโฮสต์กึ่งกลาง ตรวจไม่พบการติดโรคพยาธิใบไม้เลือดของคน สำหรับพยาธิใบไม้ตับของคน (Opisthorchis viverrini) สามารถตรวจพบไข่พยาธิในอุจจาระของประชาชน และตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะเซอร์คาเรียในหอยน้ำจืดชนิด Bithynia siamensis goniomphalos ในพื้นที่โครงการ

References

1. กรมควบคุมโรค. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
บ้านแก่งยาว ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ปีงบประมาณ 2558.กระทรวงสาธารณสุข;
2558; 58.
2. Adam R, Arnold H, Pipitgool V, Sithithaworn P, Hinz E, and Storch V. Studies on
Lophocercous cercariae from Bithynia siamensis goniomphalos (Prosobranchia: Bithyniidae). Southeast
Asian Journal of Tropical Medicine and Public Health; 1993; 24(4):697-700.
3. Wykoff, D.E., Beaver, P.C. and Winn, M.M. Studies on schistosomiasis in Thailand. Annual
Progress Report, SEATO Medical Research Laboratory, Bangkok; 1965.
4.นวลพรรณ วีระเวชสุกิจ. การติดเชื้อตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรียของปลาน้ำจืดบริเวณ
เขื่อนป่าสักชลสิทธ์ประเทศไทย, นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะวิทยาศาสตร์, ภาควิชาชีววิทยา;
2556;161.
5. วราภรณ์ น้อยโขง, จเร แสงสุข, และสุขสมาน สังโยคะ. ความหลากชนิดของปลา และสภาวะการติด
พยาธิของปลาในบริเวณเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาศสตร์; 2010; 10-19.
6. Sukontason K, Piangjai S, Muangyimpong Y, Sukontason K, Methanitikorn R, and
Chaithong U. Prevalence of trematode metacercariae in cyprinoid fish of Ban Pao District,
Chiang Mai Province, Northern Thailand. Southeast Asian Journal of Tropical Medicine and Public
Health; 1999; 30: 365-370.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-05-2019