การมีส่วนร่วมระหว่างวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก และชุมชน ในการพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพสำหรับโรงเรียนผู้สูงอายุบ้านเขาสมอแคลง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • อรวิลาสินี สจ๊วต ภาควิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, การส่งเสริมสุขภาพ, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การมีส่วนร่วมระหว่างวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก และชุมชน
ในการพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพสำหรับโรงเรียนผู้สูงอายุบ้านเขาสมอแคลง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

อรวิลาสินี สจ๊วต*

บทคัดย่อ
บทนำ: โรงเรียนผู้สูงอายุ เปนการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้ผูสูงอายุมีความรู้และทักษะที่มีความสําคัญตอการดําเนินชีวิต โดยต้องดำเนินงานบนพื้นฐานการมีสวนรวมของชุมชนทองถิ่น และภาคีเครือขาย
วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมระหว่างวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก และชุมชน ในการพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพสำหรับโรงเรียนผู้สูงอายุบ้านเขาสมอแคลง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมฯ
วิธีการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมและการวิจัยกึ่งทดลอง (PAR: Participatory action research and quasi-experimental design) คัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้มีส่วนร่วมพัฒนาโปรแกรมฯ จำนวน 15 คน และ 2) กลุ่มผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโปรแกรมฯ ครบทุกขั้นตอน จำนวน 41 คน เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) และสถิติ Paired T- test
ผลการวิจัย: รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโปรแกรมฯ มี 6 องค์ประกอบ คือ 1. ด้านหุ้นส่วนโปรแกรมฯ มีคณะกรรมการดำเนินงานที่มาจากหลายภาคส่วนในชุมชน 2. ด้านสถานที่ มีการใช้อาคารภายในวัดเขาสมอแคลงเป็นห้องเรียน 3. ด้านระยะเวลา มีการจัดกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุเดือนละ 2 ครั้ง 4. ด้านงบประมาณ มี อบต.วังทองเป็นผู้จัดสรรงบประมาณในการดำเนินงาน 5. ด้านเนื้อหาโปรแกรมฯ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร (วสส.) จังหวัดพิษณุโลกและชุมชนร่วมกันออกแบบเนื้อหา โดยนักศึกษาได้เป็นผู้ร่วมสอนและจัดกิจกรรมให้แก่ผู้สูงอายุ 6. ด้านความยั่งยืนของการดำเนินงาน วสส. จังหวัดพิษณุโลกเป็นแกนนำในการสรุปถอดบทเรียนผลการดำเนินงาน สำหรับประสิทธิผลของโปรแกรมฯ พบว่า ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ 6 เดือน ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้สูงอายุมีเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายลดลง (p < .001) อีกทั้ง มีมวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น (p < .01)
สรุปผล: โปรแกรมฯ ที่พัฒนาขึ้นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน มีความเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนผู้สูงอายุในชุมชน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพผู้สูงอายุไปในทางที่ดีขึ้น สถาบันอุดมศึกษาด้านสาธารณสุขอื่น ๆ และผู้จัดการโรงเรียนผู้สูงอายุสามารถนำรูปแบบการมีส่วนร่วมที่ได้ไปเป็นต้นแบบในการประสานความร่วมมือกันเพื่อพัฒนาโปรแกรมในการส่งเสริมสุขภาพสำหรับโรงเรียนผู้สูงอายุในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป

คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ, การส่งเสริมสุขภาพ, การมีส่วนร่วม
*พยาบาลวิชาชีพ (ด้านการสอน) ระดับชำนาญการ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก
รายชื่อผู้ติดต่อ : อรวิลาสินี สจ๊วต: โทรศัพท์มือถือ 080 499 4515 (email address : onwilasini_s@hotmail.com)

References

เอกสารอ้างอิง
1. Prasatkun P. Situation of Thai elderly in 2014. Bangkok: Amarin printing & publishing limited company; 2015. (in thai).
2. Department of Senior Services. Manaul of elderly school; 2016. (in thai).
3. Huble J. Community participation theory and practice in health [internet]. Health Action. 1990:5-9. [cited 2019 April 27] Available from: H/QUCilllOnhttps://www.ircwash.org/sites/default/files/144-90C-8682.pdf
4. House JS. Social support and social structure. Sociological Forum. 1987; 2(1):135-145. [cited 2019 April 20] Available from: https://link.springer.com/article/10.1007/BF01107897
5. Mauk KL. Gerontological nursing: compretencies for care. Massachusettes: Jones and Bartlett Publisshers; 2006.
6. Ebersole P, Hess P, Luggen AS. Toword healthy aging: Human needs and nursing response (6th Ed.). St. Louis: Mosby; 2004.
7. World Health Organization. The Ottawa Charter for Health Promotion [internet]. 1987. [cited 2019 April 25] Available from: https://www.who.int/healthpromotion/conferences/previous/ottawa/en/
8. Department of Health, Ministry of Public Health, Thailand. Manual of Diet and Physical activity Clinic. Bangkok: Rak khan Production; 2015. (in thai).
9. Tanita. Manual of body composition measurement; 2016.
10. Caplan BH. Social Support and Health. American Sociological Association [internet]. Lippincott Williams & Wilkins. 1977; 15(5): 47-58. [cited 2019 April 20] Available from: https://www.jstor.org/stable/3763353
11. Kolb DA. Experiential learning : Experiences as the source of learning and development. New Jersey : Englewood Cliffs; 1984.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-05-2019