ประสบการณ์ชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ได้รับผลกระทบจากความล่าช้าในการเข้ารับการรักษา ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กัมปนาท ฉายชูวงษ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

ประสบการณ์ชีวิต, ความล่าช้า, วัณโรคปอด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่ออธิบายผลกระทบจากความล่าช้าในการเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอด ที่มารับการตรวจรักษา ณ คลินิกวัณโรค ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 30 ธันวาคม 2561 จำนวน 25 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และจัดการข้อมูลด้วยโปรแกรมการจัดการข้อมูลเชิงคุณภาพ

ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบจากความล่าช้าในการเข้ารับการรักษาจากประสบการณ์ของผู้ป่วย วัณโรคปอด แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลัก คือ ผลกระทบต่อตนเองและผลกระทบต่อผู้อื่น ด้านผลกระทบต่อตนเองเกี่ยวกับสุขภาพในขณะนั้น คือ ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากก่อนเข้ารับการรักษา ซึ่งยังส่งผลกระทบต่อตนเองเกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการทำงานที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องหยุดงานหรือต้องออกจากงานชั่วคราว นอกจากนี้ผู้ป่วยกล่าวถึงผลกระทบต่อตนเองที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ในกรณีที่ผู้ป่วยมีระยะเวลาของความล่าช้าในการเข้ารับการรักษานานกว่านี้ คือ ความล่าช้าในการเข้ารับการรักษาจะส่งผลกระทบให้ผู้ป่วยมีความรุนแรงของโรคเพิ่มมากขึ้นจนอาจทำให้ถึงแก่ชีวิต ในขณะที่ผลกระทบต่อผู้อื่นนั้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า ตนเองสามารถแพร่เชื้อวัณโรคให้กับคนใกล้ชิด โดยเฉพาะสมาชิกในครอบครัว ชุมชน หรือสังคมของตนเองได้ แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ป่วยบางรายคิดว่าตนเองไม่สามารถแพร่เชื้อวัณโรคให้กับผู้อื่นได้ เนื่องจากผลการตรวจคัดกรองในผู้สัมผัสใกล้ชิดไม่พบว่ามีการติดเชื้อวัณโรค

ผลจากการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนามาตรการดำเนินงานควบคุมวัณโรค โดยเน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้ป่วยวัณโรคด้านผลกระทบจากความล่าช้าในการเข้ารับการรักษาทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ร่วมกับการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง และเกิดความตระหนักเกี่ยวกับวัณโรค ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่สงสัยว่าจะป่วยด้วย       วัณโรคสามารถเข้าถึงการคัดกรองและการรักษาตั้งแต่ระยะแรกที่มีอาการ ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของโรค ลดอัตราของการเสียชีวิตของผู้ป่วย และลดการแพร่กระจายเชื้อในชุมชน

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). สถานการณ์วัณโรคของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กองวัณโรค.
Aldhubhani, A. H., lzham, M. I., Ibrahim, P. & Anaam, M. S. (2013) Effect of delay in diagnosis on the rate of tuberculosis among close contacts of tuberculosis patients. Eastern mediterranean health journal, 19 (10), 837.
Aldhubhani, A. H., lzham, M. I., Ibrahim, P., Anaam, M. S. & Alshakka, M. (2017) Effect of delay in tuberculosis diagnosis on pre-diagnosis cost. Journal of Pharmacy Practice and Community Medicine, 3(1), 22-26.
Cheng, S., Chen, W., Yang, Y., Chu, P., Liu, X., Zhao, M., Tan, W., Xu, L., Wu, Q., Guan, H., Liu, J., Liu, H., Chen, R. Y. & Jia, Z. (2013) Effect of diagnostic and treatment delay on the risk of tuberculosis transmission in Shenzhen, China: an observational cohort study, 1993–2010. PLoS ONE, 8(6), e67516.
Dworkin, S. (2012) Sample Size Policy for Qualitative Studies Using In-Depth Interviews. Archives of sexual behavior, 41(6), 1319-1320.
El-Sony, A., Enarson, D., Khamis, A., Baraka, O. & Bjune, G. (2002) Relation of grading of sputum smears with clinical features of tuberculosis patients in routine practice in Sudan. The international journal of tuberculosis and lung disease, 6(2), 91-97.
Greenaway, C., Menzies, D., Fanning, A., Grewal, R., Yuan, L., FitzGerald, J.M. et al. (2002). Delay in Diagnosis among Hospitalized Patients with Active Tuberculosis - Predictors and Outcomes. American journal of respiratory and critical care medicine, 165, 927-933.
Lienhardt, C., Rowley, J., Manneh, K., Lahai, G., Needham, D., Milligan, P. et al. (2001). Factors affecting time delay to treatment in a tuberculosis control programme in a sub-Saharan African country: the experience of The Gambia. Int J Tuberc Lung Dis, 5(3), 233-239.
Malterud, K., Siersma, V. D. & Guassora, A. D. (2016) Sample size in qualitative interview studies: guided by information power. Qualitative health research, 26(13), 1753-1760.
Meintjes, G., Schoeman, H., Morroni, C., Wilson, D. & Maartens, G. (2008). Patient and provider delay in tuberculosis suspects from communities with a high HIV prevalence in South Africa: A cross-sectional study. BMC Public Health, 8, 72.
Ponticiello, A., Perna, F., Sturkenboom, M. C., Marchetiello, I., Bocchino, M. & Sanduzzi, A. (2001) Demographic risk factors and lymphocyte populations in patients with tuberculosis and their healthy contacts. The international journal of tuberculosis and lung disease, 5(12), 1-8.
Virenfeldt, V., Rudolf, F., Camara, C., Furtado, A., Gomes, V., Aaby, P. et al. (2014). Treatment delay affects clinical severity of tuberculosis: a longitudinal cohort study. BMJ Open, 4, e004818.
World Health Organization. (2017). Global tuberculosis report 2017. Geneva: WHO.

เผยแพร่แล้ว

28-06-2020