ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี และคุณลักษณะของบัณฑิตตามความคาดหวังของมูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี

ผู้แต่ง

  • วรัญญ์ศิชา ทรัพย์ประเสริฐ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จ.ชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ฐิติมา เดียววัฒนวิวัฒน์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จ.ชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นารีรัตน์ ผุดผ่อง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จ.ชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กมลนัทธ์ ม่วงยิ้ม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จ.ชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ญาณันธร กราบทิพย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จ.ชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กัมปนาท ฉายชูวงษ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จ.ชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กมล อาจดี วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จ.ชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ความต้องการศึกษาต่อ, สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, คุณลักษณะบัณฑิตตามความคาดหวัง

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาความต้องการในการศึกษาต่อและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโทหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตของบุคลากรในสังกัดมูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายน 2564 ด้วยแบบสำรวจจากบุคลากรที่ปฏิบัติงานใน สอน. และ สอ.พระราชทานนาม จำนวน 64 ราย และศึกษาคุณลักษณะบัณฑิตตามความคาดหวังของผู้บริหารระดับต่างๆ จำนวน 11 ราย ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ร่วมกับการศึกษาจากเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 84.0 เป็นเพศหญิง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการสาธารณสุข จบการศึกษาปริญญาตรีด้านสาธารณสุขศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรัฐ และมีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 10 ปี  กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรฯ ร้อยละ 66.0 ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการเข้าศึกษาในปี การศึกษา 2565 ด้วยทุนการศึกษาของตนเอง เหตุผลที่ต้องการศึกษาต่อ คือ เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการทำงานและเพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน (ร้อยละ 59.0 และ 30.0 ตามลำดับ) ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่รับผิดชอบที่ต้องการพัฒนาสู่งานวิจัย คือ ประเด็นการส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย การบริหารงานสาธารณสุขและการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ตามลำดับ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 73.0 ต้องการศึกษาในช่วงเสาร์-อาทิตย์
และเรียนแบบออนไลน์ซึ่งปัจจยัที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษา ได้แก่ความสอดคล้องของงานกับขอบข่ายของหลักสูตรและค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (ร้อยละ 34.1และ 27.3 ตามลำดับ) คุณลักษณะบัณฑิตตามความคาดหวังของผู้บริหาร พบว่า ต้องการบัณฑิตที่มีความสามารถทางวิชาการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม เป็นผู้นำ ทำงานเป็นทีม และมีจิตสำนึกรักสถาบัน ดังนั้นการวางแผนจัดทำหลักสูตร จึงต้องมีความสอดคล้องกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิต

References

สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. สธ.ผนึกเครือข่ายร่วมมือติดอาวุธทางปัญญาบุคลากร เดินหน้านโยบายหมอ 3 คน ดูแลทุกครอบครัว. [internet]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 พ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.hfocus.org/content/2020/10/20373

สถาบันพระบรมราชชนก. คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน. นนทบุรี: สถาบันพระบรมราชชนก;2564.

มูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี. ประวัติความเป็นมาของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี. [internet]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 16 พ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก http://www.qshcclub.com/site/history.php.

สถาบันพระบรมราชชนก. แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก สถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2563 – 2567. นนทบุรี: สถาบันพระบรมราชชนก; 2563.

วัลนิกา ฉลากบาง. การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research). วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 2560;7(2): 124-32.

Kaplan S, Garrett K. The use of logic models by community-based initiatives. Evaluation and Program Planning. 2005; 28: 167–172.

มูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี. ข้อ มูลพื้นฐานสถานีอนามยัเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีและสถานีอนามัยพระราชทานนาม ประจำปี 2563. นนทบุรี: มูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

ศศิธร บูรณ์เจริญ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรระดับปริญญาโทของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. 2560; 4(2):136-59.

จุฑามาศ เบ้าคำกอง, นพรัตน์ ส่งเสริม, อรอนงค์ บุรีเลิศ, เนตรทราย ทองคำ. ความต้องการศึกษาต่อและคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต หลักสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต และสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2560; 6(2): 86-94.

ใจชนก ภาคอัต. ปัจจัยด้านการพัฒนาคุณภาพของสถาบันที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาระดับปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2556.

สุมิตร สุวรรณ และจันทิมา จำนงนารถ. ความต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาของครู และบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันตก. นครปฐม:คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน; 2554.

ธนาชัยวัฒน์ เดชาสินธ์เจริญ. ความต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย

หอการค้าไทย; 2553

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-04-2022 — Updated on 07-04-2022