ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ตำบลบางเกลือ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • อุไร คล่องแคล่ว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเกลือ อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ตำบลบางเกลือ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรากลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 60 คน เป็นผู้ป่วยกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน ซึ่งกลุ่มทดลองใช้โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในการจัดกิจกรรมให้ผู้ป่วยเกิดการรับรู้ด้านสุขภาพ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมเก็บข้อมูลก่อนและหลังทดลองวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มด้วย Independent t -test

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงหลังทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารหลังทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 พฤติกรรมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารหลังทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ฉะนั้นจึงควรส่งเสริมให้มีการนำโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพนี้ไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้ป่วยในหน่วยงานอื่น ๆ ต่อไป

References

กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรค NCDs. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

สมาพันธ์ความดันโลหิตสูงโลก. World Hypertension League (WHL). (internet). 2562 (เข้าถึงเมื่อ 8ส.ค.2564). เข้าถึงได้จาก http://www.whleague.org/index.php/features/world-hypertension-day.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา. สถานะสุขภาพปี 2563. (internet). 2564 (เข้าถึงเมื่อ 10ส.ค.2564). เข้าถึงได้จาก http://www.cco.moph.go.th/cco24/status/status_health.html.

สงบ ภูแดนเก่ง และเพ็ญพักตร์อุทิศ.ผลของโปรแกรมสร้างแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมการมีชีวิตอยู่ต่อความคิดฆ่าตัวตายในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการดื่มสุรา. วารสารพยาบาลทหารบก. 2561; 18 (ฉบับพิเศษ): 85-93.

Roger, R.W. Cognitive and psysiological processes in fear appeals and attitude change: A revised theory of protection motivation. In J. Cacioppo & R.Petty (Eds.), Social Psycopsysiology. New York: Giuldford Press; 1983.

บงกช โมระสกุล, พรศิริ พันธสี, วาณี โพธิ์นคร และศุภชัย ตรีบำรุง. พฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน:กรณีศึกษาประชาชนในชุมชนหมู่บ้านเดอะเลกาซี่การ์เด้นโฮมเทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ จังหวัดปทุมธานี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2564; 35 (1).

สุพัตรา สิทธิวัง, ศิวพรอึ้งวัฒนาและเดชาทาดี.ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. วารสารพยาบาลสาร. 2563; 47 (2).

วิชาญ มีเครือรอด. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพ ดัชนีมวลกายและระดับความดันโลหิต ของบุคลากรสาธารณสุขอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย. สาธารณสุขอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย; 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-07-2022 — Updated on 26-07-2022

Versions