ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรที่มีผลเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ ศรีมานนท์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านชุมตาบง
  • จิรานันท์ ทองมาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดศรีวารีน้อย
  • ชัญญานุช ปรีชา โรงพยาบาลแกลง
  • ธนาธิป ประสมบุญ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาบ่อแก้ว
  • น้ำทอง พิมพ์บุญ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองปรือกันยาง
  • สุชานาถ ครองบุ่งคล้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ

คำสำคัญ:

เกษตรกร, โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อน-หลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยประยุกต์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรที่มีผลเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย หมู่ที่ 1 บ้านหุบบอน ตำบลเขาคันทรง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ดำเนินการทดลองในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 35 คน ที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรที่มีผลเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ที่ประกอบไปด้วย 5 กิจกรรม ทำการทดลองในวันที่ 14 มกราคม ถึง 19 กุมภาพันธ์ 2563 และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความรู้การรับรู้และพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ใช้ Paired sample t – test เพื่อทดสอบสมมติฐานโดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05)

ผลการวิจัย พบว่า หลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ (d ความรู้ = 1.77, d การรับรู้ = 3.60 และ d พฤติกรรม = 4.08 ตามลำดับ) เมื่อทดสอบสมมติฐานของการวิจัยพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t ความรู้ = 6.43, t การรับรู้ = 5.30, t พฤติกรรม = 8.07 และ p< 0.01) สรุปได้ว่าการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ สามารถสร้างการรับรู้เพื่อการป้องกันตนเองจากสารเคมีในกลุ่มเกษตรกรได้ จึงควรมีการกระตุ้นด้วยการสื่อสารสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยงด้านพฤติกรรมของกลุ่มเกษตรกร

References

กองโรคจากการประกอบอาชีพ กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังด้านสารเคมีปี 2562 รอบ 6 เดือนหลัง (1 กรกฎาคม – 31ธันวาคม 2562). [อินเตอร์เน็ต]. 2562. เข้าถึงได้จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/1030.

รณชัย โตสมภาค.ผลกระทบของสารเคมีการเกษตรต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค: แนวทางในการควบคุมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชเพื่อสร้างความมั่นคงทางสุขภาพของผู้ประกอบการภาคเกษตรกรรมและผู้บริโภค [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=29268

บัวทิพย์ แดงเขียน, พิมพรรณ รัตนโกมล, อัศวเดช สละอวยพร, และมณฑาทิพย์ สุรินทร์อาภรณ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร จังหวัดชัยนาท.วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2560; 10(4): 117-122.

Becker, MH. and Maiman, LA. A new approach to explaining sick role behavior in low-income population American of Public Health. 1997;3: 330-336.

John W. Best and James v. Kahn. Research in Education. 1998, 8th edition. MA: Allyn and Bacon.

พัชรีพร ตนภู. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ส่งผลต่อสุขภาพ ของเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพด ตำบลสถาน อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเอกการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.

ปณวัตร สันประโคน. ผลของโปรแกรมการป้องกันอันตรายจากการใช้ยาฆ่าแมลงของชาวนาไทยในอำเภอสองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2560; 35(4): 89-97.

Bloom, BS. Taxonomy of Education Objective, Hand book 1; Cognitive Domain. 1975. David Mckey C0., Inc. New York.

พรทิวา ทบคลัง และพรรณี บัญชรหัตถกิจ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรปลูกมันสำปะหลัง อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสุขศึกษา. 2562; 42(1): 80-92.

พุทธมาศ ส่งคืน. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรปลูกขา้วนาปรัง ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2561.

ขวัญธิดา ทองภูบาล. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรปลูกสวนยางพารา ตำบลสวาท อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2555.

สุนทรี ปลั่งกมล. การพัฒนาแนวทางการลดใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรตำบลหนองยาว อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร. 2558; 10(2): 134-144.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-05-2022 — Updated on 11-05-2022