การศึกษาภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ในการใช้สมุนไพร สร้างเสริมภูมิคุ้มกันไข้หวัดในสถานการณ์โรคระบาด

ผู้แต่ง

  • ธนวัฒน์ งามศรี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี

คำสำคัญ:

หมอพื้นบ้าน, ตำรับยาสมุนไพรส่งเสริมภูมิคุ้มกัน, ภูมิปัญญา

บทคัดย่อ

การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นับเป็นภาวะคุกคามของมวลมนุษยชาติ โรคระบาดเป็นโรคที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตมาตั้งแต่สมัยโบราณซึ่งเป็นปัญหาระดับโลก ทางออกที่เป็นไปได้ในการต่อสู้กับโรคระบาด คือ การทำให้ประชากรมีภูมิคุ้มกัน ปัจจุบันมีสมุนไพรหลายชนิด เช่น ฟ้าทะลายโจร กระชาย ที่มีประสิทธิภาพในการเสริมภูมิคุ้มกันและป้องกันไข้หวัด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้จากภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านเกี่ยวกับตำรับยาสมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกันและป้องกันไข้หวัด ในอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ผู้วิจัยทำการศึกษาโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ หมอพื้นบ้านภายในเขตตำบลวังท่าช้าง  ตำบลวังตะเคียน ตำบลบ่อทอง ตำบลกบินทร์ และตำบลเมืองเก่า อำเภอกบินทร์บุรี จำนวนทั้งสิ้น 20 ราย โดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ด้วยสถิติร้อยละ และ Content analysis

ผลการศึกษาพบว่าหมอพื้นบ้านจำนวน 5 ราย (ร้อยละ 25) ใช้ฟ้าทะลายโจรเป็นสมุนไพรเดี่ยว และมีหมอพื้นบ้านจำนวน 3 ราย (ร้อยละ 15) ที่ใช้กระชายขาวเป็นสมุนไพรเดี่ยว จำนวนสมุนไพรที่นิยมใช้มากที่สุดในตำรับยาคือ กระชายขาว จำนวน 9 ตำรับ รองลงมาคือ ฟ้าทะลายโจร จำนวน 7 ตำรับ ตะไคร้ จำนวน 5 ตำรับ ขิง จำนวน 4 ตำรับ ฝาง จำนวน 4 ตำรับ ข่า จำนวน 3 ตำรับ ตะไคร้หอม มะนาว ว่านชักมดลูก บานไม่รู้โรย อย่างละ 2 ตำรับ

References

อาวุธ หงษ์ศิริ, เพชรน้ำผึ้ง รอดโพธิ์, ศุภรัตน์ ดวนใหญ่, อัจฉรา แก้วน้อย. ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านชาติพันธุ์กุย: กรณีศึกษาหมอพื้นบ้าน 7 ราย ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2563; 18(1): 166-179.

กมลนาวิน อินทนูจิตร. ตำรับยาหกสิงห์แห่งเมืองซิงกอร่า. ฐานข้อมูลสงขลาคดีศึกษา สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.navanurak.in.th/cultureskru/site/theme/museshowcatsub2.php?ac2_id=18&ac1_id=13

ณัฎฐวรรณ คำแสน. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2564; 4(1): 33-48.

กรมควบคุมโรค. แนวทางบริหารจัดการควบคุมโรคในสถานที่กักกันซึ่งทางราชการกำหนด. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 24 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php

โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. อาหารสมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกันในภาวะที่มีการระบาดของโควิด-19. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 19 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก http://www.tcels.or.th/getattachment/Mini-Site/COVID-19/20200430-อาหารสมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกันในช่วง-COVID.pdf.aspx (tcels.or.th)

ศูนย์นวัตกรรมสมุนไพรครบวงจร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. สมุนไพรไทยกับงานวิจัยเกี่ยวกับการยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด-19. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 29 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://mpic.mfu.ac.th/fileadmin/mpic_file/news/2564/05/Review_สมุนไพร_ฉบับย่อ_Finaly_Edit.pdf

อัมพร เบญจพลพิทักษ์, ขวัญชัย วิศิษฐานนท์, ธิติ แสวงธรรม, เทวัญ ธานีรัตน์, กุลธนิด วนรัตน์. รายงานสังเขปผลการใช้ยาฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วย COVID-19. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2564; 19(1): 229-233.

Chang JS, Wang KC, Yeh CF, Shieh DE, Chiang LC. Fresh ginger (Zingiber officinale) has antiviral activity against human respiratory syncytial virus in human respiratory tract cell lines. Journal of Ethnopharmacology. 2013; 145(1): 146-51.

กมลฉัตร อ่องมะลิ, อัจฉรา แสงจันทร์, สลิล ชั้นโรจน์. การยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์ในระบบทางเดินอาหารและการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบจากใบตะไคร้. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 2560; 22 (ฉบับพิเศษ): 42-54.

ชนัญ ผลประไพ, ศรัณยู อุ่นทวี. การพัฒนากระบวนการเตรียมสารสกัดสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ. Thai Journal of Science and Technology. 2562; 8(5): 479-92.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022