การพัฒนานวัตกรรม “แอพพลิเคชั่น SMART BRN” สำหรับการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข: กรณีศึกษาหมู่บ้านเมืองทองซิตี้ - แหลมฉบังกรีนวิลล์ หมู่ที่ 1 ชุมชนจุกกะเฌอ ตำบลบึง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • พันธะกานต์ ยืนยง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไร่หนึ่ง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
  • บุญหลาย สรสิงห์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไร่หนึ่ง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
  • วรยุทธ นาคอ้าย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จ.ชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ปรีชา สุวรรณทอง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จ.ชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

อสม., ลูกน้ำยุงลาย, SMART BRN

บทคัดย่อ

จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงลายในปัจจุบัน มีจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การขาดการสำรวจลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องและการไม่ได้รับข่าวสารรวมถึงความรู้ในเรื่องการป้องกันลูกน้ำยุงลายของประชาชน ซึ่งเกิดจากความล่าช้าในการส่งข้อมูลข่าวสารรวมถึงการขาดเทคโนโลยีในการสื่อสารและส่งข้อมูลเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดการระบาดของโรคได้เร็วยิ่งขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเครื่องมือรายงานผลการสำรวจลูกน้ำยุงลาย และในการให้ความรู้เรื่องโรคจากยุงลายและมาตรการป้องกันโรคจากยุงลายในครัวเรือนสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และเพื่อศึกษาผลการประเมินความพึงพอใจต่อการพัฒนาสื่อนวัตกรรม โดยกลุ่มเป้าหมายในการทดสอบการผลการพัฒนานวัตกรรม คือ อสม. ที่รับผิดชอบหมู่บ้าน เมืองทองซิตี้ – แหลมฉบัง กรีนวิลล์ หมู่ที่ 1 ชุมชนจุกกะเฌอ ตำบลบึง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 15 คน

ผลการศึกษาพบว่า นวัตกรรมนี้เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์บนอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือใช้ได้ทั้งระบบ android และ IOS ในการสำรวจและให้ความรู้เรื่องโรคจากยุงลาย ทำให้การสำรวจลูกน้ำยุงลายทำได้อย่างรวดเร็วและเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคจากยุงลาย ประกอบด้วย function ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย โรคไข้ซิกา และมาตรการป้องกันโรคจากยุงลาย การสำรวจลูกน้ำยุงลาย และการรายงานผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ผลการทดลองใช้นวัตกรรม อสม.สามารถใช้ application เพื่อสื่อสารความเสี่ยง และมีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมในระดับมากที่สุด ข้อเสนอแนะนวัตกรรมนี้คือการเพิ่ม function การใช้งานเพื่อแจ้งเตือนผ่าน Line รวมถึงการส่งข้อมูลตอบกลับจากเจ้าหน้าที่ ทั้งการยืนยันการส่งข้อมูลและแจ้งข่าวสารต่าง ๆ

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคไข้เลือดออกปี 2563. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 19 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://phanhospital.go.th/phanhospital/images/Disease%20situation/ DHF_Wk18%2004282563.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. สถานการณ์ไข้เลือดออกจังหวัดชลบุรี ปี 2563 (IPD). 2563 [เข้าถึงเมื่อ 19 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://www.cbo.moph.go.th/cbo/index.php/post-formats/2017-12-21-03-52-19/2562-2/2562-16?download=852:5-3-2563.

Kemmis S, Mc Taggart R. The action research planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University press; 1990 อ้างถึงใน พอเพียง ทรัพย์อินทร์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในวัด : กรณีศึกษา วัดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2551

พิชิตศักดิ์ ทัศนิยม. AppSheet : Workshop [วิดีโอ]. กรุงเทพฯ: AppSheet ThaiDev; 2563

ภิญญาพัชญ์ ทาสาธนัตย์ตระกูล. การพัฒนาแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์ “แสงธรรม”. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ; 2558.

วรรณรัตน์ ลาวัง, อุรีรัฐ สุขสวัสดิ์ชน, จักริน สุขสวัสดิ์ชน, อโนชา ทัศนธนชัย. การพัฒนาแอพพลิเคชั่น ‘สมาร์ทการดูแล’เพื่อสนับสนุนผู้ดูแลคนพิการทางการเคลื่อนไหว. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2561

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022