การบรรเทาอาการลองโควิด (Long COVID) ด้วยการแพทย์แผนไทย และสมุนไพรกะเพรา
คำสำคัญ:
โรคโควิด-19, , ลองโควิด, การแพทย์แผนไทย, การสุมยา, กะเพราบทคัดย่อ
โรคโควิด-19 (COVID-19) เกิดจากเชื้อโคโรนาไวรัส (SARS-CoV-2) เป็นโรคติดต่อที่ผ่านระบบทางเดินหายใจ สารคัดหลั่ง หรือสัมผัสบริเวณที่มีเชื้อ เมื่อมีเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจ ปอดจึงทำงานโดยการกระตุ้นให้เกิดการไอเพื่อกำจัดเชื้อโรคหรือสารคัดหลั่ง โดยปกติผู้ป่วยทั่วไปมักมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ สามารถหายได้ภายใน 12 สัปดาห์ แต่ผู้ป่วยบางรายหลังจากตรวจไม่พบเชื้อไวรัสแล้วยังคงมีอาการเหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ไม่ค่อยได้กลิ่น และปวดตามกล้ามเนื้อหลัง ซึ่งเป็นอาการของลองโควิด (Long COVID) ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก แนวทางการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทยเน้นการดูแลสุขภาพ การรับประทานอาหาร การนอนหลับพักผ่อน และการออกกำลังกาย นอกจากนี้การรักษาทางการแพทย์แผนไทยนั้นมีการเลือกใช้หัตถการสุมยาเพื่อบรรเทาอาการของ Long COVID การสุมยาเป็นหัตถการที่ออกฤทธิ์โดยตรงกับระบบทางเดินหายใจ สมุนไพรที่ใช้อยู่ในกลุ่มน้ำมันหอมระเหย กะเพราเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบของตำรับยาสุม กะเพราเป็นพืชวงศ์ LAMIACEAE จากรายงานวิจัย พบว่า น้ำมันหอมระเหยของกะเพราสามารถดูดซึมผ่านทางปอดผ่านโครงสร้างที่กั้นระหว่างเลือดและสมองและเข้าจับกับตัวรับ (receptor) ในระบบประสาทส่วนกลางอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือด ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ได้ และยังมีการศึกษาฤทธิ์การยับยั้งเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 และ H9N2 ซึ่งเป็นไวรัสกลุ่มเดียวกับเชื้อโคโรนาไวรัส ดังนั้น หัตถการสุมยาที่มีกะเพราเป็นส่วนประกอบสำคัญจึงช่วยบรรเทาอาการ Long COVID ของผู้ป่วยและช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นได้
References
พันธนีย์ ธิติชัย, ภันทิลา ทวีวิกยการ. รายงานผลการทบทวนสถานการณ์โรคโควิด-19 และมาตรการควบคุมป้องกันในระดับโลก และประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ; 2564. กองระบาดวิทยาและกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค.
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. บทบาทของสมุนไพรและยาแผนไทยในสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด. กรุงเทพฯ: เอส.บี.เค. การพิมพ์; 2564.
Guo YR, Cao QD, Hong ZS, Tan YY, Chen SD, Jin HJ, et al. The origin, transmission and clinical therapies on coronavirus disease 2019 (COVID-19) outbreak - an update on the status. Military Medical Research. 2020; 7:11.
Zuo YY, Uspal WE, Wei T. Airborne transmission of COVID-19: aerosol dispersion, lung deposition, And virus-receptor interactions. ACS Nano. 2020; 14:16502–24.
Liushuang Chun Yu. A living WHO guideline on drugs for covid-19. BMJ 2020; 370:m3379 doi: https://doi.org/10.1136/bmj
รุ้งตะวัน ศรีบุรี. การแพร่ระบาดแบบวงกว้างของโรคโควิด-19 โดย Covid-19 superspreader. เชียงใหม่วารสาร 2564; 60(3):395-406. Doi 10.12982/CMUMEDJ.2021.35
กรมการแพทย์. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข. ฉบับปรับปรุง วันที่ 11 กรกฎาคม 2565. กระทรวงสาธารณสุข; 2565
เต็ม สมิตินันท์. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ไม่ระบุครั้งที่พิมพ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2557.
Jadhav P, Lal H, Kshirsagar N. Assessment of potency of PC-complexed Ocimum sanctum methanol extract in embryonated eggs against Influenza virus (H1N1). Pharmacognosy Magazine 2014: 10(37S); 86–91.
Lavan R, Elene P, Nato M, Ramaz S, Areg H, Alexander P. Efficacy of Kan Jang® in Patients with Mild COVID-19: Interim Analysis of a Randomized, Quadruple-Blind, Placebo-Controlled Trial. Pharmaceuticals 2022, 15(8), 1013; https://doi.org/10.3390 /ph15081013.
Department of Health and Aged Care. Long-term effects of COVID-19. Australian Government; 2022
National Health Service. Long-term effects of coronavirus (long COVID). England National Health Service; 2022
National Health Service. Your COVID Recovery. England National Health Service; 2022
ศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร กลุ่มงานเภสัชกรรม และกลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. คู่มือการดูแลสุขภาพสำหรับประชาชน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและสมุนไพร. โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร; 2564 : 6-10
American Lung Association. Understanding Mucus in Your Lungs [Internet]. American Lung Association; 2021 [cited 2022 Sep 28]. Available from: https://www.lung.org/blog/lungs-mucus
Kohlert C, Schindler G, Marz RW, Abel G, Brinkhaus B, Derendorf H, Grafe EU, Veit M. Systemic availability and pharmacokinetics of thymol in humans. Journal of Clinical Pharmacology, 2002; 42(7), 731-737.
Maneenoon K, Khuniad C, Teanuan Y, Saedan N, Prom-in S, Rukleng N, et al. Ethnomedicinal plants used by traditionalhealers in Phatthalung Province, Peninsular Thailand, Journal of Ethnobiology and Ethnomedicine 2015; 11:43
Phumthum M, Srithi K, Inta A, Junsongduang A, Tangjitman K, Pongamornkul W, et al. Ethnomedicinal plant diversity in Thailand, Journal of Ethnopharmacology 2017; 214:90-98
Defilipps R, Krupnick G. The medicinal plant of Myanmar, Phytokeys 2018; 102:1-341
Chassagne F, Hul S, Deharo E, Bourny G. Natural remedies used by Bunong people in Mondulkiri province (Northeast Cambodia) with special reference to the treatment of 11 most common ailments, Journal of Ethnopharmacology 2019; 191: 41-70
ดรุณ เพ็ชรพลาย ณุฉัตรา จันทรสุวานิชยและ ชาตรี ชาญประเสริฐ. พืชสมุนไพร ในประเทศไทย ตอนที่ 1. องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, กรุงเทพฯ; 2543. 219
Kelm MA, Nair MG, Strasbury GM, Dewitt PL. Antioxidant and cyclooxygenase inhibitory phenolic compounds from Ocimum sanctum Linn. Phytomed. 2000; 7: 7-13.
Yuan JM, Sun C, Butler LM. Tea and Cancer Prevention: Epidemiological Studies. Pharmacological Research. 2011; 64:123-13.
Raghavendhar S, Tripati PK, Ray P, Patel AK. Evaluation of medicinal herbs for Anti-CHIKV activity. Virology 2019, 533, 45–49.
Ghoke SS, Sood R, Kumar N, Pateriya AK, Bhatia S, Mishra A, et al. Evaluation of antiviral activity of Ocimum sanctum and Acacia arabica leaves extracts against H9N2 virus using embryonated chicken egg model. BMC Complementary and Alternative Medicine 2018: 18(1); 1–10.
Goel A, Bhatia AK. Ocimum sanctum: in vitro antiviral potential against animal viruses. Indian Journal of Traditional Knowledge 2022: 21(1): 120–5.
Uma M, Suresh M, Thulasiraman K, Lakshmidevi E, Kalaiselvia P. Chronic toxicity studies of aqueous leaf extract of Indian traditional medicinal plant Ocimum tenuiflorum (L.) in rats. European Journal of Experimental Biology 2013; 3(5):240-247.
Gautamn MK, Goel RK. Toxicological Study of Ocimum sanctum L. Leaves:Hematological, Biochemical, and Histopathological Studies. Journal of Toxicology 2014; 2014: 1-9.
สุกัญญา เขียวสะอาด. กะเพรากับการต้านอนุมูลอิสระ. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง. 2555 ;21(2): 54-65.
ประภัสสร วีระพันธ์, วัชรี คุณกิตติ. คุณสมบัติการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันหอมระเหยในหลอดทดลอง. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2554; 7(3): 30-38.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.