ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า

ผู้แต่ง

  • กฤษณะ หงษาครประเสริฐ โรงพยาบาลพยาบาลสถานพระบารมี อ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี

คำสำคัญ:

การสนับสนุนทางสังคม, ภาวะซึมเศร้า, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 25 คน ซึ่งกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการใช้แรงสนับสนุนทางสังคม ซึ่งมีทั้งหมด 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การสนับสนุนด้านอารมณ์ การสนับสนุนด้านการยอมรับยกย่อง การสนับสนุนด้านการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม การสนับสนุนด้านวัตถุสิ่งของหรือบริการ และการสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร ใช้ระยะเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมจากหน่วยงานรัฐตามปกติ เก็บข้อมูลก่อนและหลังทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มด้วย Independent t-test

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มทดลองมีแรงสนับสนุนทางสังคมหลังทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และมีภาวะซึมเศร้าต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้มีการนำโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมโดยใช้อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุเข้ามามีส่วนร่วมให้กับผู้ป่วยในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

References

World Health Organization. World Health Organization. Definition of an older or elderly person. 2013. (cited 16 July 2022 ) Retrieved from http://www.who.int/healthinfo/survey/ageingdefnolder/en/

Blazer DG, Hybels CF, Fillenbaum GG, Pieper CF. Predictors of antidepressant use among older adults: have they changed over time? American Journal of Psychiatry. 2005; 162(4), 705-710.

อรุณลักษณ์ คงไพศาลโสภณ. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งทางใจของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสูงอายุ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.

Cobb S. Social support as a moderator of life stress. Psychosomatic Medicine.1976; 38(5), 300 - 314.

พรพิมล เพ็ชรบุรี. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อภาะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.

สุกัญญา วชิรเพชรปราณี. บทบาทผู้สูงอายุที่อยู่กับครอบครัวอย่างมีสุขในชุมชนกึ่งเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา. 2553; 16(1), 50-59.

ศุภเจตน์ จันทร์สาสน์. ความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุในครอบครัวสูงวัยในประเทศไทย.วารสารปัญญาภิวัฒน์. 2556; 4(2), 92-103.

Tian Q. Intergeneration social support affects the subjective well-being of the elderly: Mediator roles of self-esteem and loneliness. Journal of Health Psychology. 2014; 1-8.

Brandit PA, Weinert C. The PRQ-a social support measure. Nursing Research. 1981; 30(5). 277-280.

Norbeck JS. Social support. Annual Review of Nursing Research. 1982; 6, 85-105.

Schaefer C, Coyne JC, Lazarus RS. The health-related functions of social support. In Unsar S, Dindar I, Kurt S. Activities of daily living, quality of life, social support and depression levels of elderly individuals in Turkish society. Master thesis, Medical Nursing, Faculty of Sciences, Trakya University, Turkey; 2015.

อัจฉริยาภรณ์ สุพิชญ์. คุณภาพชีวิต และการสนับสนุนทางสังคมของผู้ที่เป็นโรคจิตเภท. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2547.

Best JW. Research in Education. (4th ed.) New Jersey: Prentice Hall; 1981.

ปรีดานันต์ ประสิทธิ์เวช และรัชนีกร อุปเสน. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการออกกำลังกายต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. พยาบาลสาร. 2562; 46(ฉบับพิเศษ). 70-82.

พิสิฐ รุ่งโรจน์วัฒนศิริ. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่มต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยสูงอายุโรคซึมเศร้า. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557.

พิกุล ทับวิธร. ผลของโปรแกรมพัฒนาความสุขร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมในผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า ตำบลห้วยเตย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022