การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีผู้ควบคุมการผลิตอาหารของสถานที่ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ศิราภรณ์ ประสพชัยชนะ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

ผู้ควบคุมการผลิตอาหาร, สถานที่ผลิตน้ำบริโภค, GMP 420

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการมีผู้ควบคุมการผลิตอาหารของสถานที่ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท จังหวัดชลบุรี และหาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพสถานที่ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 177 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น (Cronbach’s Alpha) เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทางด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยทางด้านการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ และปัจจัยทางด้านกฎหมาย มีผลต่อการมีผู้ควบคุมการผลิตอาหารของสถานที่ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องตระหนัก เล็งเห็นถึงความสำคัญ และเข้าใจเจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อพัฒนาสถานที่ผลิตของตนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (GMP 420) ผลิตน้ำดื่มที่มีคุณภาพ หน่วยงานภาครัฐและภาคีเครือข่ายช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน ให้ความรู้ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลเชิงเทคนิค ข้อกฎหมาย รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง และสุดท้ายการบังคับใช้กฎหมายเพื่อความเท่าเทียม ยุติธรรม และเป็นการคุ้มครองประชาชนผู้บริโภคให้ได้รับผลิตภัณฑ์น้ำดื่มที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ผลการศึกษาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพสถานที่ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท สรุปได้ 6 ประเด็น ได้แก่ 1) การประชุมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ สร้างจิตสำนึกและทัศนคติที่ดีต่อส่วนรวม 2) การอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ให้มีทักษะและมีแนวทางการดำเนินการตามกฎหมายเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 3) จัดทำต้นแบบสถานที่ผลิตเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ 4) ผู้ควบคุมการผลิตอาหาร พัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ กำหนดจรรยาบรรณ บทบาทหน้าที่ และบทลงโทษที่ชัดเจน 5) สนับสนุนช่วยเหลือเอกสาร แบบบันทึกข้อมูลและการรายงาน แบบฟอร์มต่างๆ 6) การบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน     

   

References

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522. (2522, 13 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่มที่ 96 ตอนที่ 79 หน้า 1-28.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร. (2564, 9 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138, ตอนที่พิเศษ 31 ง หน้า 24-6.

กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. สรุปผลการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.fda.moph.go.th/sites/kbs/Shared%20Documents/สรุปผลงาน_คบส_ภูมิภาค_2564.pdf

กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. ฐานข้อมูลสารสนเทศสถานที่ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท. ชลบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี; 2565.

ผณินทร งามศิริ. การประเมินตนเอง ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต (จีเอ็มพี) ของผู้ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ในจังหวัดฉะเชิงเทรา [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2560.

สัญชัย ใบไพศาล. ความรู้ผู้ควบคุมดูแลการผลิตนํ้าบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพนํ้าบริโภค เขตสุขภาพที่ 3. วารสารอาหารและยา. 2563; 27(3): 90-100.

จิระสันต์ มีรัตน์ธนวัติ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยื่นขอปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตขั้นต้น ของผู้ประกอบการกลุ่มหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ในกลุ่มเขตจังหวัดภาคตะวันออก [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2558.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 1970; 30(3): 607-10.

ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และ ประสพชัย พสุนนท์. กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 2559; 29(2): 31-48.

บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์. 2561; 13(25): 103-18.

ดอกจันทร์ คำมีรัตน์, บุญทัน ดอกไธสง และ อิมรอน มะลูลีม. กลยุทธ์ในการบริหารของบริษัท เอ็นอีซีโทคิน อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด [อินเทอร์เน็ต]. 2552 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก : http://www.grad.vru.ac.th/download4/141.pdf

สุภัจฉรา กาใจ. แนวทางการบริหารปัจจัยที่ส่งผลต่องานนิเทศภายในของโรงเรียนนาโบสถ์พิทยาคม อำเภอ วังเจ้า จังหวัดตาก [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2562.

ส่วนประสมทางการตลาด. [อินเทอร์เน็ต]. 2541 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://academic.udru.ac.th/~samawan/content/02maketingMix.pdf

ศรีเพ็ญ สวัสดิมงคล. การตลาดในภาครัฐ [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://person.ddc.moph.go.th/hrd/images/DATA/9.15082560.pdf

สมยศ เชื้อไทย. หลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: วิญญูชน; 2557.

ณรงค์ ใจหาญ. การบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดและเป็นธรรม [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://siamrath.co.th/n/22481

พิมลวรรณ อ่อนประเสริฐ. แนวทางการพัฒนาร้านยาเข้าสู่มาตรฐานร้านยาคุณภาพจังหวัดยะลา [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2558.

พงษ์ณุวัฒน์ สมบัติภูธร. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามเกณฑ์การประเมินและรับรองคุณภาพร้านยา ของร้านยาที่ผ่านการตรวจ GPP ในจังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022