การพัฒนารูปแบบบริการในการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังทุกระยะแบบครบวงจร ที่หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ ด้วยแนวคิดการพัฒนาองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ กรณีศึกษา สอน.พิกุลทอง

ผู้แต่ง

  • ยงยุทธ ธิตินิลนิธิ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี ต.พิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี

คำสำคัญ:

โรคไตเรื้อรัง, องค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ, วิจัยเชิงปฏิบัติการ

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะ 3 ที่รับบริการในคลินิกของ สอน.พิกุลทอง ที่มีค่า eGFR ในระดับที่ต้องส่งต่อไปรับการรักษาในสถานบริการระดับทุติยภูมิตามมาตรฐานการให้บริการสำหรับผู้ป่วยเรื้อรัง จำนวน 29 คน ปฏิเสธการส่งต่อ และยืนกรานที่จะขอรับการรักษาที่ สอน.พิกุลทอง ที่เป็นเพียงหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิเช่นเดิม สอน.พิกุลทองจึงประยุกต์ใช้นวัตกรรม 13 ขั้นตอนของการพัฒนาองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ ในการพัฒนารูปแบบบริการในการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังทุกระยะแบบครบวงจรที่หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิเพื่อชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโดยบูรณาการในคลินิกโรคเรื้อรังด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงพฤศจิกายน 2565 ผู้ร่วมปฏิบัติการ ประกอบด้วย แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว Care team นักวิชาการสาธารณสุข พยาบาล ทันตาภิบาล แพทย์แผนไทย ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง และสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วย รวมทั้งหมด 127 คน

รูปแบบการให้บริการในการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังทุกระยะแบบครบวงจรที่ สอน.พิกุลทองนั้น เกิดจากการเชื่อมโยงเครือข่ายของโรงพยาบาลแม่ข่ายที่เป็นโรงพยาบาลชุมชนเข้ากับระบบคลินิกหมอครอบครัวโดยใช้แนวคิด 3 หมอ ที่มีสถานที่ให้บริการ ณ สอน.พิกุลทอง โดยมี หมอ 1 คือ อสม. ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็น Care team ที่คอยเฝ้าระวัง ดูแล ติดตาม และ ประเมินผล ที่บ้านและชุมชนที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ แล้วส่งต่อข้อมูลมายัง หมอ 2 คือ เจ้าหน้าที่ ใน สอน.พิกุลทอง ที่มีองค์ประกอบเป็นทีมสหวิชาชีพ ที่คอยดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม (Holistic care) เพื่อการรักษา ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และ ส่งต่อ ไปยัง หมอ 3 คือแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ที่มาทำหน้าที่ในคลินิกหมอครอบครัว มีการลงเยี่ยมบ้านเป็นกิจวัตร เพื่อให้เกิดการบริการสุขภาพแบบใกล้บ้าน ใกล้ใจ อย่างแท้จริง ประสิทธิผลของรูปแบบการให้บริการในการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังทุกระยะแบบครบวงจรที่ สอน.พิกุลทองนั้นช่วยชะลอไตเสื่อมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผู้ป่วยมีความพึงพอใจในบริการในระดับมากถึงมากที่สุด

References

Ingsathit A, Thakkinstian A, Chaiprasert A, Sangthawan P, Gojaseni P, Kiattisunthorn K, Ongaiyooth L, Vanavanan S, Sirivongs D, Thirakhupt P, Mittal B, Singh AK. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population. Nephrol Dial Transplant. 2010; 25: 1567-1575.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี. รายงานประจำปี 2564. สิงห์บุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี; 2564.

Pugtarmnag S, Pranate N, Thitininniti Y, Muangyim K. How to build a seamless referral system: A case study of Tha Chang community hospital, Sing Buri, Thailand. Journal of Health Science Research. 2019; 13:136-146

กองการพยาบาล. แนวทางการพัฒนาระบบบริการพยาบาล: Service Plan. 1. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์ สื่อตะวัน จำกัด; 2561.

มูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี. คู่มือการพัฒนาหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิให้เป็นองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ.1. นนทบุรี: มูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี; 2565.

Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planner. (3rd ed.) Geelong: Deakin University Press; 1992.

Brach C, Keller D, Hernandez LM, Baur C, Parker R, Dreyer B, Schyve P, Lemerise AJ, Schillinger D. Ten Attributes of Health Literate Health Care Organizations. New York: The National Academies of Sciences; 2012.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. คู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD Clinic Plus. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

Guyatt G, Rennie D. Meade MO, Cook DJ. Users' Guide to Medical Literature: A Manual for Evidence-Based Clinical Practice. (2nd ed.):New York: McGraw-Hill Education; 2008.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023