การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานด้วย 4 ป. กรณีศึกษากลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, โรคเบาหวาน, การมีส่วนร่วมของชุมชน, 4 ป.บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานด้วยหลัก 4 ป. ในพื้นที่ตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ดำเนินการในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง กรกฎาคม 2565 ในกลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 50 คน ที่ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานจากสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ บ้านกลาง ตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก และเครือข่ายการดำเนินงาน ได้แก่ แกนนำสุขภาพชุมชน เจ้าของร้านชำ และ ประชาชนในพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า ขั้นปฏิบัติการมีการพัฒนาสื่อประกอบการให้สุขศึกษา และการกำหนด Key message สำหรับการสื่อสาร “บ้านกลางร่วมใจ ห่างไกลเบาหวานด้วย 4 ป.” ได้แก่ ประเมินปัญหา ปรับการรับรู้ เปลี่ยนพฤติกรรม และประสานงานเพื่อการมีส่วนร่วม การพัฒนาศักยภาพแกนนำ การให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง การติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชน ขั้นสังเกตพบว่า กลุ่มเสี่ยงเบาหวานมีค่าความดันโลหิต ค่าดัชนีมวลกาย ค่ารอบเอว ความรู้และระดับน้ำตาลเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยกลุ่มเสี่ยงลดการบริโภคน้ำอัดลม มีการรับรู้ระดับน้ำตาลในเครื่องดื่มน้ำอัดลม และอ่านฉลากก่อนตัดสินใจ โดยการเลือกเครื่องดื่ม zero ทดแทน และร้านค้าในชุมชนเปลี่ยนการขายน้ำอัดลมประเภท zero ทดแทน ขั้นสะท้อนคิด พบว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยเทคนิค 4 ป. ทำให้กลุ่มเสี่ยงเบาหวานมีการรับรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพมากขึ้น ภาคีเครือข่ายและแกนนำชุมชนมีบทบาทสำคัญในการติดตาม กระตุ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงและลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นโยบาย การมีส่วนร่วมและการสนับสนุนของภาคีเครือข่ายโดยการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน ร่วมกับการติดตามและดำเนินงานของภาคีเครือข่ายในชุมชน ที่มีคนต้นแบบเป็นตัวแบบและการกระตุ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง
References
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 23 มีนาคม 2566] เข้าถึงได้จาก www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id= 14220&tid=32&gid=1-020
IDF Diabetes Atlas sixth edition. [Internet]. Belgium: International Diabetes Federation, 2013. [cited 2023 Feb, 11]. Available from: http://www.idf.org/diabetesatlas.
สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ข่าวในรั้วสธ. [internet]. [cite 2023 March, 23]. Available from: website https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256/
มูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี. คู่มือการพัฒนาหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิให้เป็นองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ.[internet]. [เข้าถึงเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก from: https://dol.thaihealth.or.th/Media/Index/021c6b23-e30d-eb11-80ec-00155d09b41f
Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planner (3rd ed.). Victoria: Deakin University; 1988.
จิรพรรณ ผิวนวล, ประทุม เนตรินทร์. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแก้วใน ตำบลบางแก้ว อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2561; 1(2): 46-61.
อริยสิทธิ์ จิราภรณ์.ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3. 2021; 18 (2): 142-155.
Orem DE, Taylor SG, Renpenning KM. Nursing: Concepts of Practice (6th ed.). St. Louis; Mosby. 2001.
พารุณี วงษ์ศรี และทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีของโอเร็มกับการดูแลและการให้คำแนะนำผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว. วารสารพยาบาลตำรวจ 2561; 10 (1): 209-219.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.