การพัฒนาระบบการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยวัณโรค อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • พรพิมล รัศมีวงษ์จันทร์ โรงพยาบาลค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ, การบริบาลทางเภสัชกรรม, ผู้ป่วยวัณโรค

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยวัณโรค อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะ 1) ศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา ระยะ 2) แสวงหาแนวทางการพัฒนา และพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องด้วย FOCUS-PDCA จากทีมสหวิชาชีพคลินิกวัณโรค จำนวน 12 คน โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ประชุมกลุ่ม ศึกษาเอกสาร และระยะ 3) ประเมินผลระบบการพัฒนางานบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก ตามแบบประเมินมาตรฐานความปลอดภัยด้านยา พ.ศ.2565 จากผู้ป่วยวัณโรคโรงพยาบาลค่ายบางระจัน โดยใช้ข้อมูลจากระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบบันทึกการบริบาลทางเภสัชกรรม ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า ระยะ 1) สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา ผลประเมินมาตรฐานการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกอยู่ในระดับที่ 2 ระยะ 2) พัฒนาการบันทึกข้อมูลการบริบาลทางเภสัชกรรมที่สหวิชาชีพสามารถเข้าถึงได้ ปรับปรุงแนวทางการบริบาลทางเภสัชกรรม พัฒนาระบบส่งต่อข้อมูลในเครือข่าย ประเมินความรู้ ความพึงพอใจ ความร่วมมือในการใช้ยา และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยวัณโรค มีนวัตกรรมส่งเสริมความปลอดภัยในการใช้ยา และระยะ 3) ประเมินผลระบบหลังพัฒนาผลประเมินอยู่ในระดับที่ 3 ผลกิจกรรมพัฒนาเป็นไปตามเป้าหมาย 9 จาก 10 ตัวชี้วัด และพัฒนาคู่มือการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยวัณโรคผลการศึกษานี้แสดงว่า การพัฒนาระบบด้วยการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงานและมีการประสานเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้กระบวนการได้รับการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติราชการ กระทรวงสาธารณสุข ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 3 ม.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/MOPH_plan%2066-70%20for%20web.pdf

วันชัย เหล่าเสถียรกิจ. การพัฒนาและการประเมินผลรูปแบบการกำกับติดตามการกินยาของผู้ป่วยวัณโรคเสมหะพบเชื้อรายใหม่ ในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารกรมการแพทย์ 2562; 44(2): 128-35

ชนม์นิภา นามแสง, วันชนะ หาไชย. ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการขยายระยะเวลาการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวกรายใหม่ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. วารสารกรมการแพทย์ 2564; 46(3): 45-9

นิสารัตน์ คำด้วง, ศุภวรรณ พงศ์พัฒนาวุฒิ. ผลของการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยวัณโรคปอดของโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารเภสัชกรรมไทย 2561; 10(2): 345-56.

ธีรารัตน์ คูศรีรัตน์. ผลการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกที่ใช้ยาต้านวัณโรค โรงพยาบาลเขาวง [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 27 ธ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://203.157.186.16/kmblog/ page_research_detail.php?ResID=1377

พรพิมล รัศมีวงษ์จันทร์. การพัฒนาการบริบาลทางเภสัชกรรมโดย SOAP Note ในผู้ป่วยวัณโรคที่โรงพยาบาลค่ายบางระจัน. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร 2557; 23(1): 10-20

กองบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. ระบบประเมินมาตรฐานความปลอดภัยด้านยา [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 3 พ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://phdbservice.moph.go.th/APP/PHARMACY/index.php/member/login

บรรณสรณ์ เตชะจำเริญสุข. การพัฒนาคุณภาพด้วย FOCUS-PDCA [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 20 พ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option= article&subpage=article&page_no=1

วิชชุดา เทียนเจษฎา, เชิดชัย สุนทรภาส. การจัดการและผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ณ โรงพยาบาลบ้านกรวด. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2555; 8(2): 41-52.

พิชามญชุ์ คงเกษม, อัมพรพรรณ ธีรานุตร, ชวิศ ศรีจันทร์. ผลของนวัตกรรม “KKU-TB-BOX” ต่อการยึดมั่นในการรักษาวัณโรคด้านกระบวนการรักษา. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2563; 43(2): 1-12.

พิมฤทัย ประราชะ และ วิวัฒน์ ถาวรวัฒนยงค์. กลยุทธ์ใหม่เพื่อเพิ่มความร่วมมือในการรักษาด้วยยาในผู้ป่วยวัณโรค. วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์ 2562;14(1): 111-25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023