การเฝ้าระวังผลกระทบต่อการแพร่โรคพยาธิใบไม้เลือด พยาธิใบไม้ตับ ที่มีหอยเป็นโฮสต์กึ่งกลางนำโรคและมีชีวิตครบวงจรในน้ำ ในพื้นที่โครงการประตูระบายน้ำแม่สอย จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2563

ผู้แต่ง

  • นัทธ์ชวัล กัญญะลา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • กรรณิการ์ แก้วจันต๊ะ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • อดุลย์ศักดิ์ วิจิตร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การติดเชื้อหนอนพยาธิ, โฮสต์กึ่งกลาง, ประตุระบายน้ำแม่สอย

บทคัดย่อ

โครงการประตูระบายน้ำแม่สอย เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำปิง ตอนล่างพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน โดยอยู่ในแผนการประเมินผลกระทบต้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ของกรมชลประทาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการติดโรคหนอนพยาธิในประชาชนโฮสต์กึ่งกลางในธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ปลาน้ำจืดเกล็ดขาว และหอยน้ำจืดฝาเดียว ในพื้นที่ลำน้ำปิงฝั่งจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน มีพื้นที่ศึกษาจำนวน 9 หมู่บ้าน ผู้ได้รับผลกระทบ 12,101 ราย ดำเนินการในช่วงปี 2563

ผลการตรวจหาไข่ตัวอ่อนและปล้องสุกหนอนพยาธิในอุจจาระโดยการสุ่มตัวอย่าง 177 ราย ด้วยวิธี Formalin-ethyl acetate concentration technique (FECT) พบว่าประชาชนติดเชื้อโรคหนอนพยาธิ 2 ชนิด จำแนกเป็นไข่คล้ายพยาธิใบไม้ตับ Opisthorchis viverrini-like ร้อยละ 7.91 พยาธิ Strongyloides stercoralis ร้อยละ 2.82 การติดเชื้อหนอนพยาธิ 2 ชนิด ในคนเดียวกัน ร้อยละ 1.13 และพบโปรโตซัวในลำไส้ จำนวน 2 ชนิด จำแนกเป็น Blastocystis hominis ร้อยละ 1.69 และ Giardia lamblia ร้อยละ 0.56 การศึกษาโฮสต์พยาธิกึ่งกลางของพยาธิใบไม้ จากการสำรวจการติดเชื้อตัวอ่อนของพยาธิในระยะเซอคาเรียในหอยน้ำจืดด้วยวิธี Digestion method จากหอยน้ำจืดจำนวน 1,098 ตัวอย่าง พบการติดเชื้อหนอนพยาธิจำนวน 134 ตัวอย่าง ในหอยน้ำจืด 8 ชนิด มีค่าความชุกเท่ากับ 12.2 % การศึกษาตัวอ่อนระยะติดต่อเมตาเซอร์คาเรียในปลาน้ำจืดเกล็ดขาว พบการติดเชื้อ ในปลาน้ำจืด จำนวน 9 ชนิด ผลการศึกษาหาตัวอ่อนพยาธิในมูลสัตว์รังโรค (สุนัข แมว วัว และควาย) ด้วยวิธี FECT จำนวน 200 ตัวอย่าง พบสัตว์รังโรคติดเชื้อพยาธิจำนวน 89 ตัว คิดเป็นร้อยละ 44.50

สรุปผลการศึกษา ยังพบการติดเชื้อโรคหนอนพยาธิหลายชนิด ทั้งในประชาชนและโฮสต์กึ่งกลาง ในพื้นที่โครงการประตูน้ำแม่สอย ซึ่งเป็นชนิดของพยาธิที่มีความสำคัญ และเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุข ในพื้นที่ มีสาเหตุจากพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคของประชาชนและสภาพสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติในพื้นที่ จึงควรต้องดำเนินการตรวจสอบตามแผนปฏิบัติงานโครงการ และให้มีการคืนข้อมูลให้ประชาชนในพื้นที่ เพื่อดำเนินการป้องกันการแพร่กระจายของโรคหนอนพยาธิที่เป็นปัญหาดังกล่าวหลังสิ้นสุดโครงการ

References

วรยุทธ นาคอ้าย, สุภัทรตา ศรีทองแท้, อัมภัส วิเศษโมรา, อรนาถ วัฒนวงษ์. อัตราการติดเชื้อหนอนพยาธิในโฮสต์ และโฮสต์กึ่งกลางในพื้นที่โครงการประตูน้ำแม่สอย จังหวัดลำพูนปี 2560 2563; 27(3): 22-37.

กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย. การติดตามตรวจสอบผลกระทบต่อสุขภาพจากโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ [อินเตอร์เน็ต]. 2562.[เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://monitor.anamai.moph.go.th/main.php?filename=importance.

กรมชลประทาน.รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโครงการประตูน้ำแม่สอยจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: กรมชลประทาน; 2554

กรมควบคุมโรค.รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการประตูน้ำแม่สอย จังหวัดเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2556. กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข; 2556.

Daniel WW. Biostatistics: A Foundation for Analysis in the Health Science. 7th edition. New York:John Wiley & Sons; 1999.

Truant AL, Elliott SH, Kelly MT, Smith JH. Comparison of formalin-ethyl ether sedimentation, formalin-ethyl acetate sedimentation, and zinc sulfate flotation techniques for detection of intestinal parasites. J Clin Microbiol 1981; 13(5): 882-4.

odushkin I, Ruth T, Huhtasaari A. Comparison Of Two Digestion Methods For Elemental Determinations In Plant Material By ICP Techniques. Anal Chim Acta 1999;378(1): 191–200.

Wykoff DE, Beaver PC, Winn MM. Studies on Schistosomiasis in Thailand. Annual Progress Report, SEATO Medical Research Labortory, Bangkok; 1965.

Wongsawad Ch, Rojanspaibul A, Mhad-arechin N, Pachanawan A, Marayong T, Suwattanacoupt S, et al. Metacercaria from freshwater fishes of Mae Sa stream, Chiang Mai, Thailand. Sountheast Asian J Trop Med Public Health 2000; 31(Suppl 1): 54-57.

Waikagul J. Opisthorchis viverini metacercariae in Thai freshwater fish. Sountheast Asian J Trop Med Public Health 1998; 29: 324-6.

Kumchoo K, Wongsawad Ch, Joung-Yil Ch, Vanittanakorn P, Rojanapaibun A. High prevalanc of Haplochis taichui matacercariae in Cyprinoid fish from Chiang Mai province,Thailand. Sountheast Asian J Trop Med Public Health 2005; 36(2): 451-5.

พิศิษฐ์ สุนทราวิฑูร. ตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรียในปลาน้ำจืดของไทย. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา 2557; 19(2): 237-49.

พิศิษฐ์ สุนทราวิฑูร เอมอร ดอกไม้ขาว.ความชุกตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรียในปลาวงศ์ปลาตะเพียน ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย. สัตวแพทย์มหานครสาร 2557; 9(2): 113-120

กัลยาณี จันธิมา ชมัยพร นิลราช และ ชัชวาล น้อยวังฆัง.โรคหนอนพยาธิในพื้นที่อ่างเก็บน้ำลำชี จังหวัดชัยภูมิ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2566; 17(2): 701-713.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2023