การพัฒนารูปแบบการให้บริการผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 3A ในคลินิกโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบึงน้ำรักษ์

ผู้แต่ง

  • สุทธิลักษณ์ มิตศิลปิน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบึงน้ำรักษ์ อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา

คำสำคัญ:

โรคไตเรื้อรัง, รูปแบบการให้บริการ, วิจัยเชิงปฏิบัติการ

บทคัดย่อ

โรคไตเรื้อรังเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของโลก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบึงน้ำรักษ์ ดำเนินการส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูผู้ป่วยกลุ่มโรคไตเรื้อรังตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขแต่ยังพบการเพิ่มขึ้นของกลุ่มผู้ป่วยโรคไตระยะ 3A อย่างต่อเนื่อง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบและระบบการให้บริการผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 3A ในคลินิกโรคเรื้อรัง โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่าย ให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยใช้กรอบการวิจัยของ Kemmis & McTaggart ศึกษาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 3A ที่รับการรักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบึงน้ำร้กษ์ จำนวน 35 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบทดสอบความรู้ แบบสัมภาษณ์ การสังเกต และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความรู้ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ระหว่างก่อนและหลังการใช้รูปแบบการให้บริการแบบใหม่

ผลการวิจัยพบว่า หลังการใช้รูปแบบการบริการแบบใหม่ ผู้ป่วยมีคะแนนเฉลี่ยความรู้โรคไตเรื้อรัง และการพฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้นในทุกข้อคำถาม ผู้ป่วยมีอัตราการกรองของไต (eGFR) ดีขึ้นร้อยละ 100 เป็นผลมาจากการแยกคลินิกโรคไตเรื้อรังออกจากคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่น ทำให้ได้รับข้อมูลที่จำเพาะต่อโรคมากขึ้น มีการใช้สื่อประกอบการให้สุขศึกษาที่สนับสนุน กระตุ้นให้เกิดความเข้าใจง่าย และชัดเจนการชี้ให้เห็นข้อจำกัด และอุปสรรคในการดำเนินชีวิตหากไม่ปรับพฤติกรรม มีการวางแผน กำหนดเป้าหมายในการปรับพฤติกรรมร่วมกันเป็นการสนับสนุนให้ผู้ป่วยได้ใช้ความรู้ ทักษะ และกำจัดอุปสรรคได้ ทั้งนี้ทีมติดตามพฤติกรรมควรได้รับการอบรมเพิ่มขึ้น เพื่อพัฒนาความรู้ให้สามารถตอบข้อสงสัยได้อย่างชัดเจน และในการติดตามควรมีแบบติดตามพฤติกรรมที่ชัดเจนเพื่อให้สามารถสรุปผล รวมทั้งง่ายต่อผู้ที่ติดตามพฤติกรรมในขณะเยี่ยมบ้านด้วย

References

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการจัดการโรคไตเรื้อรัง (CKD) สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. ข้อแนะนำเวชปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2565 (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์; 2565.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง (CKD) ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.

Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University; 1988.

ศิริลักษณ์ มหาลี, มณฑิชา รักศิลป์, ธีรวุฒิ เอกะกุล. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์. 2559; 11(1): 99-106.

แพรวทิพฑ์ สุธีรประเสริฐ, วราทิพย์ แก่นการ.ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านเพื่อชะลอโรคไตเรื้อรังในชุมชนเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2561; 36 (4): 43-51.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2023