ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ตำบลแก้มอ้น อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
พฤติกรรมสุขภาพ, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, 3อ 2ส, โรคไม่ติดต่อเรื้อรังบทคัดย่อ
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases: NCDs) เป็นภาระต่อเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญในระดับโลก การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้น ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ กับพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส.ของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ตำบลแก้มอ้น อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี โดยทำการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางในกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจำนวน 189 คน เก็บรวบรวมข้อมูล 2 ครั้ง ในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามจากกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t – test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ตำบลแก้มอ้น อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี มีคะแนนเฉลี่ยระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. โดยรวมเพิ่มขึ้น (t = -11.71, p < 0.05) และค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. โดยรวมเพิ่มขึ้น (t = -15.16 , p < 0.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หลังจากได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในด้านอื่น ๆ ของชุมชนต่อไป
References
เอื้อจิต สุขพูล, ชลดา กิ่งมาลา, ภาวิณี แพงสุข, ธวัชชัย ยืนยาว,วัชรีวงค์ หวังมั่น. ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงาน. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2563; 29(3): 419-429.
สำนักงานโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัย 4.0 เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน. รายงานการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไป พ.ศ.2562. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟันนี่ พับบลิชชิ่ง; 2563.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: นิวธรรมดาการพิมพ์; 2561.
Yamane T. Statistic: an introductory analysis. 2nd ed. NewYork: Happer and Row; 1967
อำนวย เนียมหมื่นไวย์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านนักจัดการสุขภาพชุมชน อำเภอบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 2563; 4(2): 76-92.
ธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้าน สุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ของคลินิกหมอครอบครัวบ้านทุ่งเสี้ยว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2564; 29(4): 618-624.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี, คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.