การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกต้นขาซ้ายหักที่มีแผลเปิด และกระดูกต้นขาขวาหักที่มีแผลปิดร่วมกับการมีภาวะช็อกจากการเสียเลือด: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • อรนุช มากรด โรงพยาบาลบ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา
  • สุริยา ฟองเกิด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การพยาบาล, กระดูกต้นขาหักที่มีแผลเปิด, ภาวะช็อกจากการเสียเลือด, กรณีศึกษา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยกระดูกต้นขาซ้ายหักทั้งชนิดที่มีแผลเปิดและแผลปิด ร่วมกับการมีภาวะช็อกจากการเสียเลือด ได้ถูกต้อง เหมาะสม ตามมาตรฐานวิชาชีพ ตั้งแต่แรกรับจนส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาในโรงพยาบาลตติยภูมิ จากกรณีศึกษาผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 52 ปี สถานภาพสมรส สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย ศาสนาพุทธ โรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูง รักษาสม่ำเสมอที่โรงพยาบาลบ้านโพธิ์ ประสบอุบัติเหตุขับขี่รถจักรยานยนต์ชนกับรถบรรทุก หน่วยปฏิบัติการการแพทย์ขั้นสูงของโรงพยาบาลบ้านโพธิ์ ใช้แนวคิดทฤษฎีการพยาบาลแบบองค์รวมในการดูแลผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ โดยให้การดูแลผู้รับบริการแบบมองให้ครบทุกด้านของความเป็นมนุษย์ ไม่แยกส่วน ให้การดูแลโดยคำนึงถึงองค์ประกอบในร่างกาย ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ไม่ได้พิจารณาเฉพาะโรคที่เป็นหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย แต่พิจารณาจากความสัมพันธ์ของทั้ง 4 ด้านให้มีภาวะสมดุล คงไว้ซึ่งความมีสุขภาวะที่ดี และวินิจฉัยการพยาบาลตามรูปแบบของสมาคมวินิจฉัยการพยาบาลของอเมริกาเหนือ (NANDA)

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยมีปัญหาการพยาบาลที่สำคัญ 5 ข้อ ดังนี้ 1) ผู้ป่วยมีภาวะช็อกจากการเสียเลือด เนื่องจากมีกระดูกต้นขาซ้ายหักบาดแผลเปิดขนาดใหญ่และต้นขาขวาบวมผิดรูป ไม่มีบาดแผล 2) เสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมันอุดตันหลอดเลือดในปอดจากการมีกระดูกต้นขาหักทั้ง 2 ข้าง 3) เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ต้นขาซ้ายเนื่องจากมีกล้ามเนื้อและไขมันฉีกขาด จากการทิ่มแทงของกระดูกหักแบบเปิด 4) ผู้ป่วยมีอาการปวดขา 2 ข้างมาก เนื่องจากเนื้อเยื่อและเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บ การปวดเป็นแบบ Nociceptive pain และ Neuropathic pain และเกิดความไม่สุขสบาย และ 5) ผู้ป่วยและญาติมีความวิตกกังวลกับอาการบาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุ ผู้ป่วยได้รับการดูแลให้การพยาบาลเพื่อแก้ไขภาวะช็อกจากการเสียเลือด ตั้งแต่แรกรับ ณ จุดเกิดเหตุ และดูแลต่อเนื่องจนถึงห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลบ้านโพธิ์ อาการช็อกจากการเสียเลือดดีขึ้น ผู้ป่วยปลอดภัย และสามารถส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลพุทธโสธร เพื่อการรักษาต่อเนื่อง

References

Mitchnik IY, Talmy T, Radomislensky I, Chechik Y, Shlaifer A, Almog O, Gendler S. Femur fractures and hemorrhagic shock: Implications for point of injury treatment. Injury 2022; 53(10): 3416–22.

Wertheimer A, Olaussen A, Perera S, Liew S, Mitra B. Fractures of the femur and blood transfusions. Injury 2018; 49(4): 846-51.

Guerado E, Bertrand ML, Valdes L, Cruz E, Cano JR. Resuscitation of Polytrauma Patients: The Management of Massive Skeletal Bleeding. The open orthopaedics journal 2015; 9: 283–295.

โรงพยาบาลมหาสารคาม. แนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วย Hypovolemic shock. มหาสารคาม: โรงพยาบาลมหาสารคาม; 2562.

ไสว นรสาร. การพยาบาลผู้บาดเจ็บ. กรุงเทพ: ไอเดีย อินสแตนท์; 2563.

American Holistic Nurses Association, American Nurses Association. Holistic nursing: scope and standards of practice. Silver Spring, MD: Nursesbook.org.; 2007.

Orem DE, Taylor SG, Renpenning KM. Nursing: Concepts of practice(6th ed.). St. Louis: Mosby; 2001.

North American Nursing Diagnosis Association. NANDA nursing diagnoses: Definitions and classification 1999–2000. Philadelphia: North Amer Nursing Diagnosis; 1999.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-06-2024