สังเคราะห์งานเภสัชสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตามหลักธรรมาภิบาล

ผู้แต่ง

  • นุชน้อย ประภาโส กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

สังเคราะห์, งานเภสัชสาธารณสุข, หลักธรรมาภิบาล

บทคัดย่อ

การสังเคราะห์งานเภสัชสาธารณสุข ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์พื่อสังเคราะห์โครงสร้าง บทบาท ภารกิจของงานเภสัชสาธารณสุขในกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ความสำคัญของบทบาท ภารกิจของงานเภสัชสาธารณสุข ตามหลักธรรมาภิบาล และจัดทำข้อเสนอต่อสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อการขับเคลื่อนเชิงนโยบายงานเภสัชสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เภสัชกรผู้ปฏิบัติงานเภสัชสาธารณสุข ที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แนวคำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมาย คือประธานคณะกรรมการชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย 1 คน และระดับภาค 4 คน รวมทั้งสิ้น 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า โครงสร้างของกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุขจากอดีตถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย 2 งานหลัก คือ งานคุ้มครองผู้บริโภค และงานเภสัชสาธารณสุข ระดับความคิดเห็นเรื่องความสำคัญตามบทบาทภารกิจของงานเภสัชสาธารณสุข พบว่าคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (4.38 ± 0.76 คะแนน) ระดับความคิดเห็นต่อบทบาทภารกิจของงานเภสัชสาธารณสุขตามหลักธรรมภิบาล พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (4.32 ± 0.83 คะแนน) ด้านปัญหา อุปสรรค พบว่ามีปัญหาโครงสร้างและบทบาทภารกิจที่กลับด้าน และฉากทัศน์อนาคตของงานเภสัชสาธารณสุข จึงมีข้อเสนอต่อสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดดำเนินการ ดังนี้ 1) ทบทวนและปรับชื่อ “กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข” เป็น “กลุ่มงานเภสัชสาธารณสุขและคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ” 2) ยกระดับการสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในงานเภสัชสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง และ 3) ยกระดับกรอบอัตรากำลังให้เพียงพอและส่งเสริมความก้าวหน้าและความมั่นคงในวิชาชีพเภสัชกรให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

References

คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ. ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร; 2561

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.). คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance Rating). กรุงเทพฯ: พรีเมียร์ โปร; 2552

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กองบริหารทรัพยากรบุคคล. โครงสร้างและกรอบอัตรากำลังหน่วยงาน ในราชการบริหารส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hr.moph.go.th/site/hr_moph/?p=435816

กระทรวงสาธารณสุข. กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2567. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 141 ตอนที่ 12 ก; 17 มีนาคม 2567.

จิระ วิภาสวงศ์, ชัยวัฒน์ สิงห์หิรัญนุสรณ์, อรุณรัตน์ อรุณเมือง. การวิเคราะห์งานและเหตุผลความจำเป็นในการขอกำหนดตำแหน่งเภสัชกร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นระดับชำนาญการพิเศษได้ทุกตำแหน่ง. ลำพูน: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน; 2558.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท. ประวัติความเป็นมาของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 22 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.cnto.moph.go.th/โพสต์/ประวัติ

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. วิวัฒนาการการสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี [อินเทอร์เน็ต]. 2545 [เข้าถึงเมื่อ 23 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://pbio.moph.go.th/oldweb/struture/history.html

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566) [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 22 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://pharmacy.su.ac.th/main/admis_gradprogN1.php

Cooper H, Hedges LV. The Handbook of Research Synthesis. New York: Russell Sage Foundation; 1994.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการบุคลากรสาธารณสุขสำหรับบุคลากร สป. (HROPS - nonHR). กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2566.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น.กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2554.

Best JW. Research in Education (3rd ed.) New Jersey: Prentice Hall; 1997.

Denzin NK, Lincoln YS. Strategies of Qualitative Inquiry (3rd ed.). California: Sage Publication; 2008.

สภาเภสัชกรรม. พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2537. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 28 ก; 30 มิถุนายน 2537.

จรวยพร ศรีศศลักษณ์,เอื้องฟ้า สิงห์ทิพย์พันธุ์. ธรรรมาภิบาลในการจัดการระบบสุขภาพ. สวรส[อินเทอร์เน็ต]. 2551 [เข้าถึงเมื่อ 22 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/96/hsri-journal-v2n2-p172-178.pdf?sequence=3&isAllowed=y

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-06-2024