ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการบริหารยุทธศาสตร์งานสุขภาพจิต ของพยาบาลหัวหน้าแผนก โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
การบริหารยุทธศาสตร์, งานสุขภาพจิต, พยาบาลหัวหน้าแผนก, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงบทคัดย่อ
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ส่งผลกับประสิทธิผลขององค์กร เจตคติ ความพึงพอใจ รวมถึงความผูกพันต่อองค์กร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มุมมองหรือรูปแบบการปฏิบัติงาน การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีความสัมพันธ์และมีผลต่อการบริหารยุทธศาสตร์งานสุขภาพจิต ของพยาบาลหัวหน้าแผนก โรงพยาบาลชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรากลุ่มตัวอย่าง พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าแผนกในโรงพยาบาลชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าแผนกในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 73 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถามภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการบริหารยุทธศาสตร์งานสุขภาพจิต มีค่าความตรง 0.87 ค่าความเที่ยง 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ กำหนดนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
ผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.02, S.D. = 0.62) การดำเนินการบริหารยุทธศาสตร์งานสุขภาพจิต อยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.62, S.D. = 0.71) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบริหารยุทธศาสตร์งานสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าระดับความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (r = 0.768, p < .001) และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ส่งผลต่อการบริหารยุทธศาสตร์งานสุขภาพจิต อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 58.9 (R2= 0.589) ดังนั้นการเพิ่มศักยภาพก่อนเป็นหัวหน้าแผนก หน่วยงานต้นสังกัดต้องมีการสนับสนุนการบริหารจัดการยุทธศาสตร์ตามงานที่รับผิดชอบของแต่ละบุคคล เพื่อทำให้ได้แนวทางการปฏิบัติ และประสบการณ์ที่พร้อมถ่ายทอดสู่ผู้ตาม
References
พระปลัดชัยรัตน์ ปิยสีโล (เกตุสุวรรณ์). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุควิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารพุทธอาเซียนศึกษา. 2565; 7(1): 37-52.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมสุขภาพจิต. สรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) ของกรมสุขภาพจิต ประจำปีงบประมาณ 2563. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต1; 2563.
ปริญญา นากปุณบุตร และพรณิภา พลอยกิติกูล. การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตราฐานงานสุขภาพจิต และจิตเวชในระดับศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดพิจิตร. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2550;2 (2): 1055-1060.
สมบูรณ์ บุณยเกียรติ, เนตรชนก ศรีทุมมา, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับคุณภาพบริการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลทั่วไปในเขตภาคกลาง. วชิรสารการพยาบาล. 2564; 23(2): 57-69.
พันธะกานต์ ยืนยง, สุรเดช สำราญจิตต์. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับทักษะซอฟต์สกิลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. 2567; 9(1): 32-44.
กชกร ขันตีกรม, ชวนชม ชินะตังกูร, กมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออก. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 2565; 7(6): 255-269.
Burns JM. Leadership. New York: Harper & Row; 1971.
วรนุช วงค์เจริญ, ปราณี มีหาญพงษ์, จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการปฏิบัติของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับความผูกพันในงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2561; 26(3): 23-31.
นิ่มนวล โยคิน. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของพยาบาลวิชาชีพ ความภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับประสิทธิผลของหอผู้ป่วย ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 10 [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2555.
ลักขณา ศรีบุญวงศ์, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย, พัชราภรณ์ อารีย์. โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย พฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงาน และผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลทั่วไป. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2563; 31(2): 96-111.
ปาริฉัตร จอมกัน. การวิเคราะห์การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) ในวาระแรกระยะ 3 ปี (พ.ศ.2563-2565) ของกรมสุขภาพจิต [สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2563.
เทพทัต พรสิริญาณ. ภาวะผู้นำกับการบริหารยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2559.
ศศิธร ศรีแก้ว และสุดารัตน์ ลิจุติภูมิ. การพัฒนารูปแบบการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดลพบุรี. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2561; 14(2): 3-12.
ธนาทิพย์ ชมเชยวงศ์. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําของผู้บริหารกับการบริหารยุทธศาสตร์ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2559.
สุนันทา สายสล้าง, สมชาย เทพแสง, เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร. ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี. วารสารศึกษาศาตร์ มมร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 2566; 11(2): 223-246.
ลภัสรดา ผลประทุม. รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลในการบริหารงานของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออก. วารสารสหศาสตร์. 2562; 19(1): 83-110.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี, คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.