การบรรเทาอาการไข้และผื่นบริเวณผิวหนังของโรคมือ เท้า ปาก ด้วยตำรับยาเขียวหอม
คำสำคัญ:
โรคมือเท้าปาก, เชื้อไวรัส, เขียวหอมบทคัดย่อ
โรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot Mouth Disease; HFMD) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโร (Enteroviruses) ส่วนใหญ่เกิดการติดเชื้อในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยผู้ป่วยมักมีอาการไข้ร่วมกับมีตุ่มแดงอักเสบที่บริเวณลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม รวมถึงมีตุ่มนูนแดงที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า เข่า หรือก้น ซึ่งโรคนี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตของเด็กเป็นอย่างมาก ในประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อโรคมือ เท้า ปาก เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี การรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบันเน้นการบรรเทาอาการของผู้ป่วย ในทางการแพทย์แผนไทยมีการกล่าวถึงโรคที่มีอาการไข้ร่วมกับมีอาการผื่นผุดขึ้นมาเป็นตุ่มบริเวณผิวหนังและยังกล่าวถึงยาที่ใช้ในการรักษา คือ ยาเขียวหอม ซึ่งตำรับยานี้มีระบุไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพรสำหรับใช้รักษาโรคไข้ ร้อนใน กระหายน้ำ ทั้งนี้ยังมีรายงานการวิจัยว่า ยาเขียวหอมมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์ ส่วนฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อไวรัส พบว่า สามารถยับยั้ง Enterovirus 71 และ Herpes simplex virus ไม่ให้เข้าสู่เซลล์ได้ นอกจากนี้ยังพบฤทธิ์ต้านการอักเสบจากการศึกษาในสัตว์ทดลอง รวมถึงมีงานวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับการรักษาแผลร้อนในด้วย ตำรับยาเขียวหอมจึงเป็นตำรับยาที่มีประสิทธิผลและความปลอดภัยในการรักษา และบรรเทาอาการโรคมือ เท้า ปาก การศึกษาฤทธิ์ของตำรับยาเขียวหอม และการวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับประสิทธิผลของตำรับยาเขียวหอม จึงมีความสำคัญในการประยุกต์ใช้ตำรับยาสมุนไพรเพื่อรักษาโรคมือ เท้า ปาก อย่างมีประสิทธิภาพ
References
กองการแพทย์ทางเลือก. โรคมือ เท้า ปาก [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข; 2567 เข้าถึงเมื่อ 11 กันยายน 2567]. เข้าถึงได้จาก https://thaicam.dtam.moph.go.th/wp-content/uploads/2019/10/ยาโฮมีโอพาธีย์สำหรับการควบคุม-โรคมือ-เท้า-ปาก-ยาโฮมีโอพาธีย์-เมอร์ค-โซล-30-ซี-และ-อาซินิ_compressed.pdf
กรมควบคุมโรค. มือเท้าปาก (Hand, Foot and Mouth Disease (HFM)) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2562 เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/ disease_detail.php?d=11
สำนักระบาดวิทยา. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปแนวทางการวิเคราะห์ระบบเฝ้าระวัง 5 กลุ่มโรค 5 มิติ ปี พ.ศ. 2559. [อินเทอร์เน็ต]. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์จำกัด; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://thaincd.com/document/file/download/paper-manual/แนวทางการวิเคราะห์_5_มิติ_5_กลุ่มโรค.pdf
สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย. องค์ความรู้ (Factsheet) เรื่อง โรคติดต่ออุบัติใหม่ [อินเทอร์เน็ต]. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรม ราชูปถัมภ์; 2554 [เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://skko.moph.go.th/dward/ document_file/cdc/common_form_upload_file/20120402112647_1212245913.pdf
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนงทางการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล (สำหรับครูผู้ดูแลเด็กเล็ก) อินเทอร์เน็ต]. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.oic.go.th/ FILEWEB/CABINFOCENTER9/DRAWER022/GENERAL/DATA0000/00000466.PDF
นพวรรณ ธีระพันธ์เจริญ. โรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำในอาเซียน. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560; 26(ฉบับเพิ่มเติม 1): S165-S174.
สํานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก สัปดาห์ที่ 53. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://27.254.33.52/ healthypreschool/uploads/file/HFM%20_wk%2060/HFM%20WK%2053.pdf
Guan X, Che Y, Wei S, Li S, Zhao Z, Tong Y, Wang L, Gong W, Zhang Y, Zhao Y, Wu Y, Wang S, Jiang R, Huang J, Liu Y, Luo W, Liao Y, Hu X, Zhang W, Dai Y, Jiang G, Min G, Liu F, You X, Xu X, Li J, Li C, Fan S, Hang L, Huang Q, Li Q. Effectiveness and safety of an inactivated Enterovirus 71 vaccine in children aged 6-71 months in a phase IV study. Clin Infect Dis 2020; 71(9): 2421-2427.
มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ และโรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. . ตำราการแพทย์ไทยเดิม แพทยศาสตร์สงเคราะห์ฉบับอนุรักษ์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์; 2555.
กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ. 2566 ตามประหาศคระกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร. ปทุมธานี: บริษัท มินนี่ กรุ๊ป จำกัด; 2566.
พิพัฒพงษ์ คงแก้ว, นูรอัยนี ซึบะ. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลการเช็ดตัวด้วยยาเขียวหอมกับการเช็ดตัว รูปแบบเดิมต่อการลดอุณหภูมิกายในผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่มีไข้สูง: การศึกษาย้อนหลัง วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2566; 21(1): 18-24
ชยันต์ พิเชียรสุนทร, วิเชียร จีรวงส์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 1 น้ำกระสายยา. นนทบุรี: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2556.
พิไลพันธ์ พุธวัฒนะ, หทัยรัตน์ เลิศสำราญ. การจัดจำแนกไวรัส. ใน: พิไลพันธุ พุธวัฒนะ, บรรณาธิการ. ไวรัสวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: โรงพิมพ์อักษรสมัย; 2559.
Sukkasem K. Biological activities of Thai traditional remedy called Kheaw-Hom and its plant ingredients. [Dissertation]. Pathumthani: Thammasat University; 2015.
Intawong W. Antiviral activity against herpes simplex virus type 2 of Kheaw-Hom remedy extract and its plant ingredients. Thammasat University; 2021.
Sukkasem K, Panthong S, Itharat A. Antimicrobial activities of Thai traditional remedy “Kheaw-Hom” and its plant ingredients for skin infection treatment in chickenpox. J Med Assoc Thai. 2016; 99 suppl 4: 116–123.
Ouncharoen K, Itharat A, Chaiyawatthanananthn P. In vitro free radical scavenging and cell-based antioxidant activities of Kheaw-Hom remedy extracts and its plant ingredients. J Med Assoc Thai. 2017; 100(5): 241-249.
Sukkasem K, Itharat A, Thisayakorn K, Tangsuphoom N, Panthong S, Makchuchit S, Inprasit J, Prommee N, Khoenok W, Sriyam K, Pahusee D, Tasanarong A, Ooraikul B, Davies NM. Exploring in vitro and in vivo anti-inflammatory activities of the Thai traditional remedy Kheaw-Hom and its bioactive compound, ethyl p-methoxycinnamate, and ethnopharmacological analysis. Journal of ethnopharmacology 2024; 319(Pt 1): 117131.
ภัทรภร ไชยหัด, ณัฐกฤตา ผลอ้อ, พจชระ คำสีทา, สุบิน ก้องเมือง, กฤษณ์ พงศ์พิรุณห์, เมธิน ผดุงกิจ. ประสิทธิและความปลอดภัยของยาเขียวหอมชนิดผงในการรักษาแผลร้อนใน. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2564; 19(2): 344-353.
Chusri S, Sinvaraphan N, Chaipak P, Luxsananuwong A, Voravuthikunchai SP. Evaluation of antibacterial activity, phytochemical constituents, and cytotoxicity effects of Thai household ancient remedies. J Altern Complement Med 2014; 20(12): 909-918.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี, คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.